E-LEARNING

หลักสูตรรายวิชาจักษุวิทยา นักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 (พค.451)

 

                                     

 

 

 

 

 

 

หลักสูตรวิชาจักษุวิทยา

(พค.451)

นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5

 

ปีการศึกษา 2549

 

 

 

 

 

โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา

 

คณะแพทยศาสตร์

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

คำนำ

 

                                โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยาเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ซึ่งมีหลักสูตรการสอนนักศึกษาแพทย์ทางด้านจักษุวิทยา    เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถจบการศึกษาเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่มีความรู้และทักษะในการดูแลรักษาโรคทางตาที่อาจพบได้อย่างเหมาะสม  ครอบคลุมทั้งด้านการรักษา  การฟื้นฟู  การป้องกัน  การส่งเสริม และการธำรงไว้ซึ่งสุขภาพ  โดยมีการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภา ในหลักการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีบูรณาการ  เน้น problem - based learning และ community setting โดยจัดการเรียนการสอนทั้งที่โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์การแพทย์คูคต  ซึ่งนอกจากหลักสูตรจะเน้นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการปลูกฝังจริยธรรมทางการแพทย์ที่เหมาะสมแก่นักศึกษาแพทย์ รวมทั้งทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์ และการทำงานเป็นทีม เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถจบการศึกษาเป็นบัณฑิตแพทย์ที่พึงประสงค์และมีคุณภาพต่อไปในอนาคต

   

โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา

ปีการศึกษา  2549

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

                                                                                                               หน้า

 รายชื่ออาจารย์

 วัตถุประสงค์ทางจักษุวิทยา

 เนื้อหาและรายละเอียดวิชา

 ตารางเรียน

 วิธีการจัดการเรียนการสอน

 การประเมินผล

 หนังสืออ้างอิง

 ภาคผนวก

 เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2545
แพทยสภา ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตา

 ข้อแนะนำในการรักษาผู้ป่วยทางจักษุวิทยาสำหรับแพทย์ทั่วไป

 คำศัพท์ทางตาที่ควรทราบ

 รายการยาทางตาที่พบบ่อย

 คำย่อทางจักษุวิทยาที่ควรทราบ

 

 

 

ข้อมูลรายชื่อและการศึกษาของคณาจารย์ในสาขาวิชาจักษุวิทยา

 

                1  อาจารย์  นายแพทย์  ศักดิ์ชัย      วงศกิตติรักษ์                                             

 -  พบ.   เกียรตินิยม  (รามาธิบดี)

 -  นิติศาสตร์บัณฑิต   (รามคำแหง)

-   ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  (จุฬา)

-  ว.ว   จักษุวิทยา  (จุฬา)

-   อ.ว.  เวชศาสตร์ครอบครัว

-   รองประธานวิชาการชมรมจักษุวิทยาเด็กและตาเข

                2  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์  วิชัย      ลีละวงศ์เทวัญ                                               

                                -  พบ.  (จุฬา)

-   ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  (จุฬา)

-   ว.ว.   จักษุวิทยา   ( จุฬา )

                                -   กรรมการชมรมจักษุแพทย์ไทยด้านสายตา

                3  รองศาสตราจารย์  นายแพทย์  โกศล     คำพิทักษ์                                                      

                                -  พบ.  (จุฬา)

-   ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  (จุฬา)

-   ว.ว.  จักษุวิทยา  (จุฬา)

-   Cornea  and  refractive  surgery ,  Royal  Eye  and  Ear  hospital    Melbourne  Australia  

                4   อาจารย์  แพทย์หญิง  วราภรณ์     บูรณะตรีเวทย์                       

                                -   พบ.  (เชียงใหม่)

                                -    อ.ว. จักษุวิทยา  (เชียงใหม่)

                                -    จักษุตกแต่งเสริมสร้าง  (รามาธิบดี)

5  อาจารย์  นายแพทย์  ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

                                -  พบ (รามาธิบดี)

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  (รามาธิบดี)

                                -    สาขาจอประสาทตา  (รามาธิบดี)

6   อาจารย์   แพทย์หญิง  มัญชิมา      มะกรวัฒนะ                                           

                                -    พบ.  (จุฬา )

                                -   ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  (จุฬา)

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  (จุฬา)

                           -   Certificate  of  Clinical Glaucoma  and  Surgery  Fellowship ,the New York Eye and Ear Infirmary , New York USA     

                   -   Neuro-Ophthalmology, the New York Eye and Ear Infirmary , New York USA

                7  อาจารย์    นายแพทย์  ณวพล          กาญจนารัณย์                                                       

                                -   พบ.  (ศิริราช)

                                -    ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก  สาขาจักษุวิทยา  (มหิดล)

                                -    ว.ว  จักษุวิทยา  (ศิริราช)

                                -    อ.ว.  เวชศาสตร์ครอบครัว

                8  อาจารย์    แพทย์หญิง   นรากร       วิมลเฉลา                                                                ลาศึกษาต่อ

                                -   พบ.  (จุฬา)

                                -    ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาจักษุวิทยา  (ขอนแก่น)

                                -    ว.ว.  จักษุวิทยา  (ขอนแก่น)

                9 อาจารย์ แพทย์หญิง  วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

                                - พบ. (รามาธิบดี)

                                - อนุมัติบัตร (เชียงใหม่)

                                - อนุสาขากระจกตา (ศิริราช)

                10  แพทย์หญิง      สุพินดา                   ถนอมรอด                                                             ลาศึกษาต่อ

                                -   พบ.  เกียรตินิยม    (ศิริราช)

                                -   ลาศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้าน  (ศิริราช)

 

    อาจารย์พิเศษซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคของสาขาวิชาจักษุวิทยา  4  คน คือ

                1      พญ.  โสฬส   วุฒิพันธ์

                                 -     พบ. (ศิริราช ) 

                                 -    วุฒิบัตรจักษุวิทยา (รามาธิบดี)

                                 -    Fellowship  in  Strabismus ,  The  Royal  Eye  and  Ear  Hospital  ,  Melbourne  University  ,  Australia                      

                2     พญ.    นิภาภรณ์    มณีรัตน์

                                -    พบ. (จุฬาลงกรณ์) 

                                -     วุฒิบัตรจักษุวิทยา  (จุฬาลงกรณ์)

                          -      อนุสาขากระจกตา  (จุฬาลงกรณ์)

                3     นพ.  กิตติชัย    อัครพิพัฒน์กุล

                                -     พบ. (จุฬาลงกรณ์ )

                                 -     วุฒิบัตรจักษุวิทยา  (จุฬาลงกรณ์)

                                -     อนุสาขาจอประสาทตา   (ราชวิถี)

                4        นพ. กีรติ   พึ่งพาพงษ์

                                -   พบ.  (จุฬาลงกรณ์)

                                 -    วุฒิบัตรจักษุวิทยา  (จุฬาลงกรณ์)

                                 -    Certificate  of  Research  Oculoplastic  and  Reconstructive Surgery   Fellowship ,The   Massachusetts   Eye and Ear Infirmary,   Boston , USA

                5              พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

                                - พบ. (รามาธิบดี)

                                - วุฒิบัตรจักษุวิทยา (รามาธิบดี)

                                - อนุสาขากระจกตา (รามาธิบดี)

                6              นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

                                - พบ. (รามาธิบดี)

                                - วุฒิบัตรจักษุวิทยา (ราชวิถี)

                7              พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

                                - พบ. (ขอนแก่น)

                                - วุฒิบัตรจักษุวิทยา (ขอนแก่น)

 

 

หลักสูตรจักษุวิทยา

 

วัตถุประสงค์ทางจักษุวิทยา

 

เมื่อนักศึกษาผ่านแผนกจักษุวิทยาเป็นเวลา 3  สัปดาห์แล้ว  นักศึกษาจะต้องมีเจตคติ  มารยาท  และจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่ดีต่อวิชาชีพและผู้ป่วย  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและผู้ร่วมงานและจะต้องมีความรู้ความสามารถตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

 

การจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาการ

                ประกอบด้วยการบรรยาย,  topic discussion, bedside teaching round, operative room demonstration และ primary eye care ที่ศูนย์แพทย์คูคต การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้นอกเวลา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เนื้อหาต่อไปนี้ เป็นการสอนแบบบรรยาย (panel discussion) ได้แก่

 

                เรื่อง                                                                                                                        อาจารย์                                 

1.Introduction to Ophthalmology                                                                                    อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

                                                                                                                                                อ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

                                                                                                                                                อ.ณวพล  กาญจนารัณย์

 

2.Impaired vision                                                                                                                 อ.โกศล  คำพิทักษ์

                                                                                                                                                อ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

                                                                                                                                                อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

 

3.Eye pain & Headache                                                                                                      อ.โกศล  คำพิทักษ์

                                                                                                                                                อ.วราภรณ์  บูรณะตรีเวทย์ 

                                                                                                                                                อ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

 

4.Red eye                                                                                                                              อ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

                                                                                                                                                อ.โกศล  คำพิทักษ์

                                                                                                                                                อ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

               

5.Disease of retina & vitreous                                                                                            อ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

                                                                                                                                                อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

                                                                                                                                                อ.ณวพล  กาญจนารัณย์

 

6.Disease of eyelid & lacrimal system                                                                              อ.วราภรณ์  บูรณะตรีเวทย์ 

                                                                                                                                                อ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก                                                                                                                                                                                                     อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

 

7.Strabismus                                                                                                                         อ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

                                                                                                                                                อ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

                                                                                                                                                อ.ณวพล  กาญจนารัณย์

 

8.Eye in systemic disease                                                                                                   อ.ณวพล  กาญจนารัณย์

                                                                                                                                                อ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

                                                                                                                                                อ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

 

9.Neuro-Ophthalmology                                                                                                    อ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

                                                                                                                                                อ.โกศล  คำพิทักษ์

                                                                                                                                                อ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

 

10.Eye injury                                                                                                                        อ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

                                                                                                                                                อ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

                                                                                                                                                อ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

 

2.การเรียนการสอนแบบ topic discussion มี 9 เรื่อง ดังนี้

 

                เรื่อง                                                                                                        อาจารย์

1.Pharmacology                                                                                   อ.โกศล  คำพิทักษ์และอาจารย์ทุกท่าน

2.Diabetic retinopathy                                                                        อ.ณวพล  กาญจนารัณย์และอาจารย์ทุกท่าน

3.Medical ethics                                                                                   อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์และอาจารย์ทุกท่าน

4.Acute conjunctivitis                                                                         อ.วราภรณ์  บูรณะตรีเวทย์และอาจารย์ทุกท่าน              

5.Common eye injury                                                                         อ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญและอาจารย์ทุกท่าน

6.Sudden visual loss                                                                            อ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะและอาจารย์ทุกท่าน

7.High risk red eye                                                                              อ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญและอาจารย์ทุกท่าน      

8.Leukocoria                                                                                        อ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลกและอาจารย์ทุกท่าน

9.Primary eye care                                                                               อ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์และอาจารย์ทุกท่าน

               

รายละเอียดการสอนแบบบรรยาย (panel discussion)

 

1.       Introduction to Ophthalmology

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป  เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยทางจักษุวิทยา  นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไปทางจักษุวิทยาได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคพื้นฐานทางจักษุวิทยาได้

3.   ให้การรักษาโรคตาง่ายๆได้และทราบถึงชนิดของโรคที่จะต้องส่งต่อให้จักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.    ทราบขอบเขตความรู้เกี่ยวกับจักษุวิทยาสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

2.    อธิบาย  Gross  anatomy , และ Medical term ทางจักษุวิทยาที่พบบ่อยได้

3.     อธิบายกลไกการเกิดโรคตาที่พบบ่อยสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปได้

4.  อธิบายการแยกโรคที่มีความรุนแรงน้อยและรุนแรงมากทางจักษุวิทยา และแนวทางการดูแลรักษาได้

5.สามารถให้การดูแลรักษาโรคตาที่ไม่รุนแรง และสามารถส่งต่อจักษุแพทย์ในกรณีเป็นโรคที่ต้องรับการรักษาโดยจักษุแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

6.  สามารถให้การดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสมและมีจริยธรรม

 

 

2.       อาการตามัว  ( lmpaired vision )

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป  เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการตามัว   นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อหาสาเหตุของอาการตามัวได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงชนิดของโรคที่จะต้องส่งจักษุแพทย์

4.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross  anatomy ,  Histology , และ  Physiology  ของตาได้

2.   อธิบาย  Pathology , Pathogenesis,Diagnosis,และ Management

     ในโรคที่มาด้วยอาการตามัวที่พบบ่อยได้  ได้แก่

-          Refractive  error : Hyperopia , Myopia , Astigmatism,Presbyopia

-          Cloudy  media :  Cataract ,  Leucoma,Vitreous hemorrhage

-          Sensory  caused  :  Glaucoma,Retinal detachment,Optic neuritis,Amblyopia,Macular disease

3.   อธิบาย  Pathology,Pathogenesis,Diagnosis,และ Management  ในกลุ่มโรคที่

       เกิดอาการ  Sudden loss of vision  ได้  ได้แก่

-          Central  Retinal Artery  Occlusion  ( CRAO)

-          Central  Retinal  Vein  Occlusion   (CRAO)

-          Amourosis  fugax

-          Optic  neuritis  and  Retrobulbar  optic  neuritis

-          Retinal  detachment

4.  สามารถวัด  Visual  acuity และแปลผลได้

5.   สามารถใช้  Direct  ophthalmoscope  ได้

6.   สามารถตรวจ  External eye  ด้วย  Penlight ได้

7.   สามารถใช้  Schiotz  tonometer  ได้

8.   สามารถตรวจภาวะตาบอดสีได้

9.   สามารถ  detect  ภาวะ  Malingering ได้

10.  อธิบายการใช้  Perimetry  ชนิดต่างๆ ได้  และสามารถทำ Confrontation  test  ได้

11.  อธิบายคำนิยามของ  Legal  blindness  ได้

12.  อธิบายชนิดและกลไกของเลนส์ชนิดต่างๆที่ใช้ทำ  Visual  rehabilitation

13.  อธิบาย  Phamocokinetic,Mechanism,และ Side effect  ของยาหยอดตาชนิดต่างๆ ดังนี้

                -  Steroid

                -  Antiglaucoma

                -  Mydriatic

และยาที่ใช้ทาง  Systemic  ดังนี้

-          Steroid

-          Antiglaucoma

14.   อธิบายข้อบ่งชี้  วิธีการ  และภาวะแทรกซ้อนในการทำผ่าตัดต้อกระจกได้

 

 

3.        อาการปวดตาและปวดศีรษะ  ( Eye   pain  and  headache )

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป      เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการปวดตาหรือปวดศีรษะที่เกี่ยวเนื่องจากตา  นักศึกษาต้องสามารถ

1.  ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดตาได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง

4.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงชนิดของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย Gross anatomy , Histology , และ  Physiology  ของตาได้

2.   อธิบาย  Pathology ,  Pathogenesis , Diagnosis , และ  Management

    ของโรคที่มาด้วยอาการปวดตาหรือปวดศีรษะที่พบบ่อยได้   ได้แก่

-          Asthenopia

-          Acute glaucoma

-          Optic  neuritis

-          Endophthalmitis

-          Periorbital  and  orbital  cellulites

3.   สามารถวัด  Visual  acuity  และแปลผลได้

4.   สามารถใช้  Direct  ophthalmoscope  ได้

5.   สามารถใช้  Schiotz  tonometer  ได้

6.   สามารถตรวจ  External eye  ด้วย   Penlight  ได้

7.   สามารถวัด  Near  point  of  convergence  ได้

8.   อธิบายและสามารถตรวจ  Pupillary  reflex  ได้

9.   อธิบายกลไกและชนิดของเลนส์ต่าง ๆ  ได้

10.  อธิบาย  Host  defence  mechanism  ต่อภาวะการติดเชื้อได้

11.  สามารถอ่านฟิล์มเอกซเรย์  skull  series และ  water  view  และแปลผลการอ่าน CT –Scan  และ  Ultrasound  ของตาได้

12.  อธิบาย  Pharmacokinetic , Mechanism , และ  Side effect ของยาหยอดตาชนิดต่างๆ เหล่านี้ได้

          -  Antibiotic

                -  Steroid

                -  Mydriatic  and  Cycloplegic

                -  Antiglaucoma

และยาที่ใช้ทาง  Systemic  ได้แก่

-          Antibiotic

-          Steroid

-          Antiglaucoma

-          Analgesic

 

 

4. อาการตาแดง ( Red eye )

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป  เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการตาแดง  นักศึกษาต้องสามารถ

1.  ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อหาสาเหตุของอาการตาแดงเหล่านั้นได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง

4.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงชนิดของโรคที่จะต้องส่งต่อให้จักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.    อธิบาย  Gross  anatomy , Histology , และ  Physiology  ของตาได้

2.    อธิบายกลไกที่ทำให้เกิดอาการตาแดงได้ว่าเป็นจาก  Conjunctival vessels  หรือ  Ciliary   vessels

3.    อธิบาย  Pathology , Pathogenesis , Diagnosis, และ Management

     ของโรคในกลุ่ม  low  risk  ได้แก่

-          Bacterial  conjunctivitis

-          Viral  conjunctivitis

-          Chlamydial  conjunctivitis

-          Allergic  conjunctivitis

-          Ophthalmia  neonatorum

-          Pterygium and Pingueculum

-          Phyctenular

      และโรคในกลุ่ม  high  risk  ได้แก่

-          Comeal ulcer

-          Anterior uveitis

-          Acute glaucoma

4.   อธิบาย  Host defence mechanism  ต่อภาวะการติดเชื้อได้

5.   อธิบายภาวะ  Hypersensitivity  ได้

6.   สามารถวัด Visual acuity  และแปลผลได้อย่างถูกต้อง

7.   สามารถใช้  Schiotz tonometer  ได้

8.   สามารถพลิกเปลือกตาบนได้

9.   สามารถตรวจ External eye ด้วย Penlight ได้

10.  สามารถใช้  Loupe magnification  ได้

11.  สามารถเก็บ  specimen  จากตาเพื่อทำการตรวจหาเชื้อจากการทำ  Grams  stain,Wrights  stain,AFB,KOH   ได้  และทราบถึง  media และ transport media  ชนิดต่างๆ  ในการทำ  culture  รวมทั้งการแปลผลได้อย่างถูกต้อง         

12.  อธิบาย  Phamacokinetic,Mechanism,และ Side effects ของยาหยอดตาชนิดต่างๆดังนี้

        -  Antibiotic

        -  Antihistamine

        -  Vasoconstrictor

        -  Mydriatic

        -  Miotic

        -  Beta blocker

        -  Steroid

และยาที่ใช้ทาง  Systemic ต่างๆ ดังนี้

        -  Antibiotic

        -  Antihistamine

        -  Steroid

        -  Antiglaucoma

13.   อธิบายข้อบ่งชี้  วิธีการ  และภาวะแทรกซ้อนในการทำผ่าตัด  Pterygium ได้

 

 

5.   Disease of the Vitreous and Retina

 

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป    เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเกี่ยวกับวุ้นลูกตาและจอประสาทตา   นักศึกษาสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อหาอาการของโรคที่เกี่ยวกับวุ้นลูกตาและจอประสาทตาได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวะการของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

4.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross anatomy, Histology, และ Physiology ของตาได้

2.   อธิบาย  Pathology, Pathogenesis, Diagnosis, และ Management ของโรคที่เกี่ยวกับวุ้นลูกตาและจอประสาทตาได้   ได้แก่

        -  Leukocoria

        - Retinoblastoma

        - Retinopathy of prematurity (Retrolental fibroplasia)

        - Retinal detachment

        - Vitreous floaters

        - Vitreous hemorrhage

3.   สามารถวัด   Visual acuity และแปลผลได้

4.   สามารถใช้  Direct ophthalmoscope ได้

5.   อธิบาย  Growth and development ของตาได้

6.   สามารถให้  Genetic counseling แก่ผู้ปกครองของผู้ป่วยที่เป็น Retinoblastoma ได้

 

6.   Disease of the Eye lids and lacrimal system

 

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป   เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับหนังตาและระบบท่อน้ำตา  นักศึกษาสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรคของหนังตาและระบบท่อน้ำตาได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้

4.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวการณ์ของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross anatomy, Histology, และ Physiology ของตา เปลือกตา และระบบท่อน้ำตาได้

2.   อธิบาย  Source, Function, และ Composition น้ำตาได้

3.   อธิบายกลไกการหลั่งและการกำจัดน้ำตาได้

4.   อธิบาย  Pathology, Pathogenesis, Diagnosis, และ Management ของโรคที่เปลือกตาที่พบบ่อยได้   ได้แก่

                -   Inflammation of the lids: Hordeolum, Chalazion, Blephalitis

         -  Position defects of the lids:   Entropion ,ectropion , Ptosis,Epicanthus

         -   Trichiasis

         -   Tumors  of  the  lids  :  Nevus,Xanthelasma,Hemangioma,Molluscum  contagiosum,Basal  cell  CA.,  Sebaceous  cell  CA.

5.   อธิบาย  Pathology, Pathogenesis, Diagnosis, และ Management ชองโรคระบบท่อน้ำตาได้ ได้แก่

                        -   Infection of the lacrimal apparatus: Dacryocystitis,Dacryoadenitis

                        -   Dry eye syndrome

                        -  Nasolacrimal duct obstruction

6.   อธิบาย  Host defence mechanism ต่อภาวะการติดเชื้อได้

7.   สามารถวัด  Visual acuity และแปลผลได้

8.   สามารถพลิกเปลือกตาบนได้

9.   สามารถใช้  Loupe magnification ได้

10.  สามารถตรวจ  External eye ด้วย Penlight ได้

11.  สามารถทำ  Lacrimal sac irrigation ได้

12.  สามารถทำ  Schirmer’s test และแปลผลได้

13.  สามารถย้อน  Grams’s  stain,KOH,AFB  และแปลผลได้  และทราบ  media  และ  transport  media  ชนิดต่างๆ  ที่จะส่ง  culture  รวมทั้งแปลผลได้

14.   อธิบาย  Phamacokinetic, Mechanism, และ Side effect ชองยาหยอดตาชนิดต่างๆ ดังนี้

        -  Antibiotic

        -  tears substitutes

  และยาที่ใช้ทาง  Systemic ได้แก่

        -  Antibiotic

        -  Analgesic

15.   อธิบายข้อบ่งชี้  วิธีการ  และภาวะแทรกซ้อน  รวมทั้งสามารถทำผ่าตัด  Hordeolum, Chalazion ได้

 

 

7.   ตาเหล่   ( Strabismus)

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป   เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการตาเหล่  นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาที่เกี่ยวกับโรคตาเหล่ได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวการณ์ของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

4.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross anatomy, Histology และ Physiology ของตาได้

2.   อธิบายการทำงานและระบบประสาทของกล้ามเนื้อตาได้

3.   อธิบาย  Pathology, Pathogenesis, Diagnosis, และ Management ของโรคที่เกี่ยวกับตาเหล่ได้ ได้แก่

        -  Pseudostrabismus

        - Esodeviation

        - Exodeviation

        - Paralytic strabismus

        - Amblyopia

4.   สามารถวัด  Visual  acuity  และแปลผลได้

5.   สามารถใช้  Direct ophthalmoscope ได้

6.   สามารถตรวจ  External eye  ด้วย   Penlight  ได้

7.   สามารถตรวจ  Corneal  light   reflex  และแปลผลได้

8.   สามารถทำ  Cover-Uncover  test  และ  Alternate  cover  test  รวมทั้งแปลผลได้

9.   สามารถตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อตาแต่มัดได้

10.  อธิบายภาวะ  Single  binocular  vision  ได้

11.  อธิบายกลไกและชนิดของเลนส์ต่างๆได้

12.  อธิบายข้อบ่งชี้  วิธีการ  และภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ได้

 

 

8.   Ocular  disorder  associated with  System  disease

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป   เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีปัญหาทางตาซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากโรคทาง  Systemic  disease  นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาที่มีปัญหาทางตาซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากโรคทาง  Systemic  disease  ได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวการณ์ของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

4.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross  anatomy,Histology,และ  Physiology  ของตาได้

2.   อธิบาย  Pathology,Pathogenesis,Diagnosis,และ Management   ของโรคทางตาที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคทาง  Systemic  disease  ที่พบบ่อยได้    ได้แก่

        - Hypertensive   retinopathy

        - Diabetic   retinopathy

        - SLE

        - Grave’s disease

        - Vitamin  A  deficiency

        - Congenital  Rubella  Syndrome

        - Ocular complication  from  drugs : Steroid, Methanol,

           Chloroquine,Ethambutol,Digitalis

3.   สามารถวัด  Visual  acuity  และแปลผลได้

4.   สามารถใช้  Direct  ophthamoscope  ได้

5.   สามารถตรวจ  External eye  ด้วย  Penlight  ได้

6.   สามารถตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อตาแต่ละมัดได้

7.   สามารถตรวจภาวะตาบอดสีได้

 

 

9.   Neuro-ophthalmology

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป   เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการทางตาที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท  นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาที่มีอาการทางตาที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทได้

2.   ให้การวินิจฉัยแยกโรคได้

3.   ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้

4.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวการณ์ของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย  Gross  anatomy,Histology,และ Physiology  ของตาได้

2.   อธิบายกายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาของระบบประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็นได้

3.   อธิบาย  Pathology,Pathogenesis,Diagnosis และ Management  ของโรคทาง  Neuro-ophthalmologyได้     ได้แก่

        -  Papilledema

        - Optic  atrophy

        - Optic neuritis  and  Retrobulbar optic  neuritis

        - Homer’s  syndrome

        - Anisocoria

        - Ocular  myasthenia  gravis

4.   อธิบาย  Visual  field  defect  ที่เกิดจาก  lesion  ของ  optic  pathways  ตำแหน่งต่างๆได้

5.   สามารถวัด  Visual acuity  และแปลผลได้

6.   สามารถใช้  Direct  ophthalmoscope  ได้

7.   อธิบายและสามารถตรวจ  Pupillary  reflex  ได้

8.   สามารถตรวจ  External  eye  ด้วย  Penlight  ได้

9.   สามารถตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตาแต่ละมัดได้

10.  อธิบาย  การใช้  Perimetry  ชนิดต่างๆได้และสามารถตรวจ  Visual  field  ด้วยวิธี      Confrontation  test  ได้

11.  สามารถอ่านฟิล์มเอกซเรย์  skull  series,chest  และแปลผล  CT  Scan   ของสมองได้

12.  อธิบาย  Phamacokinetics,Mechanism และ  Side  effect ของยาหยอดตาชนิดต่างๆเหล่านี้ได้

        -  Steroid

        - Prostigmine

        - Mestinon

 

 

 

10.   อุบัติเหตุต่อดวงตา  ( Eye  injury )

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป   เมื่อนักศึกษาพบผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บทางตา  นักศึกษาต้องสามารถ

1.   ชักประวัติและตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาเพื่อหาภาวะการบาดเจ็บทางตาได้

2.   ให้การวินิจฉัยโรคได้

3.   ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง

4.   ให้การรักษาโรคได้และทราบถึงภาวะของโรคที่จะต้องส่งต่อจักษุแพทย์

5.   ให้คำแนะนำและป้องกันโรคได้

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.   อธิบาย   Gross  anatomy ,  Histology, และ  Physiology  ของตาได้

2.   อธิบาย  Pathology ,  Pathogenesis , Diagnosis , และ Management  ของภาวะการบาดเจ็บทางตาได้  ได้แก่

        -  Nonpenetrating  injury : Corneal  abrasion,Corneal and  Conjunctival  Foreign   Body, Chemical bum, UV  burn, Contusions,Rutures

        - Penetrating injury : Intraocular  Foreign  Body ,  Laceration

        - Injuries   of  the  eye  lids  and  lacrimal  apparatus

        - Injuries  of  the  orbit  and  its  contents

3.   สามารถวัด  Visual  acuity  และแปลผลได้

4.   สามารถใช้  Direct  ophthalmoscope  ได้

5.   สามารถตรวจ  External  eye  ด้วย  Penlight  ได้

6.   สามารถใช้  Loup  magnification  ได้

7.   สามารถตรวจการเคลื่อนไหวของกล้าวเนื้อตาได้

8.   สามารถพลิกเปลือกตาบนได้

9.   สามารถทำ  Lacrimal  sac  irrigation  ได้

10.  อธิบายและสามารถตรวจ  Pupillary  reflex  ได้

11.  สามารถอ่านฟิล์มเอกซเรย์  skull  series , water  view , moving  eye  ball  และแปลผล  CT  Scan และ  Ultrasound  ของตาได้

12.  สามารถทำ  Pressure  patch  ของตาที่มี  Corneal  abrasion  ได้

13.  สามารถทำ  Eye  irrigation  ของตาที่มี  Chemical  burn  ได้

14.  สามารถ  Remove  conjunctival  and  corneal  FB.  ได้

15.  อธิบายภาวะ  Sympathetic  ophthalmia  ได้

16.  อธิบาย  Pharmacokinetic,Mechanism,และ Side  effect  ของยาหยอดตาเหล่านี้ได้

                -  Antibiotic

                -  Steroid

                -  Mydriatic  and  Cycloplegic

17.   อธิบายข้อบ่งชี้  วิธีการ  และภาวะแทรกซ้อนในการทำ  Enucleation  และ  Evisceration ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางการศึกษา

*********************

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการเรียนการสอน

 

1.   การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน

        1.1  Ward  work

        รับผู้ป่วยในในสาขาจักษุวิทยาตามที่อาจารย์กำหนดให้  และเขียนรายงานผู้ป่วยทุกราย

        1.2  Teaching  ward  round

        ร่วม  ward  round  และ  bed  side  teaching  กับอาจารย์ในสาขาจักษุวิทยา

2.   การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยนอก

        2.1  ออกตรวจผู้ป่วยทางจักษุวิทยาที่แผนกผู้ป่วยนอกสัปดาห์ละ  3-4  ครั้ง  ตั้งแต่เวลา  09.00-12.00 น. โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา

        2.2  ทำหัตถการและผ่าตัดเล็กทางจักษุวิทยาตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์

3.   การปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด

        3.1  เข้าดูหรือช่วยทำผ่าตัดทางจักษุวิทยาอย่างน้อย  1  ครั้ง  ตั้งแต่เวลา  09.00-12.00  น.

4.   Topic  discussion

        4.1  ร่วม  group  discussion  กับอาจารย์ตาม  topic  ที่ได้กำหนดให้  ตั้งแต่เวลา

        13.00-15.00  น.

        4.2  มีการฉาย  Side  และ   Videotape  ที่เกี่ยวข้องกับ  topic  นั้นๆ

5.   ฟังการบรรยายในหัวข้อต่างๆที่สำคัญในสัปดาห์แรกของการปฏิบัติงาน

6.   การร่วมกิจกรรมของคณะ

        6.1  Faculty  activity  ทุกวันพุธ และวันศุกร์  เวลา  13.00-15.00  น.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การประเมินผล

 

เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในช่วงเวลา  3  สัปดาห์ที่ผ่านแผนกจักษุวิทยาแล้วจะมีการประเมินผลดังนี้

 

 

1.   ภาคปฏิบัติ                                                                                                       40   คะแนน

 

        1.1  การชักประวัติผู้ป่วย                                                                             5     คะแนน

        1.2  การตรวจร่างกายผู้ป่วย                                                                        5     คะแนน

        1.3  การทำหัตถการ                                                                                     5     คะแนน

        1.4  การเขียนรายงานผู้ป่วย                                                                        5     คะแนน

        1.5  ความเอาใจใส่และการค้นคว้า                                                            5     คะแนน

        1.6  การรักษาระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในหน้าที่                     5     คะแนน

        1.7  ทัศนคติและมนุษยสัมพันธ์ต่อผู้ป่วย                                                  5     คะแนน

        1.8  ทัศนคติและมนุษยสัมพันธ์ต่ออาจารย์และผู้ร่วมงาน                      5     คะแนน

 

2.   ภาคทฤษฎี                                                                                                       60    คะแนน

 

        2.1  การสอบปากเปล่า case  ผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก                           15    คะแนน

        2.2  การสอบข้อเขียน เป็นการสอบแบบปรนัยและอัตนัย                     45     คะแนน

 

 

คะแนนรวมทั้งหมด  100   คะแนน  นำคะแนนที่ได้ไปประเมินผลโดยรายงานเป็นเกรด

 

รายละเอียดการประเมินผล

1.       การซักประวัติ (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

5              ซักประวัติที่สำคัญได้ครบถ้วน

               4               ขาดประวัติที่สำคัญเล็กน้อย (< 20%)

               3               ขาดประวัติที่สำคัญพอควร (< 50%)

2              ขาดประวัติที่สำคัญมาก (> 50%)

1              ขาดประวัติที่สำคัญมาก (> 50%) และ มีความผิดพลาดมาก (> 50%)

 

2.       การตรวจร่างกาย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

5              ตรวจร่างกายที่สำคัญได้ถูกต้องครบถ้วน

               4               ขาดการตรวจร่างกายที่สำคัญเล็กน้อย (< 20%)

               3               ขาดการตรวจร่างกายที่สำคัญพอควร (< 50%)

2              ขาดการตรวจร่างกายที่สำคัญมาก (> 50%)

1              ขาดการตรวจร่างกายที่สำคัญมาก (> 50%) และ มีความผิดพลาดมาก (> 50%)

3.       การทำหัตถการ (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

                                5              ปฏิบัติครบถ้วนและอธิบายผลถูกต้องในผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของตนทุกราย

                                4              ปฏิบัติครบถ้วนแต่อธิบายผลผิดพลาดเล็กน้อย

                                3              ปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ แต่ยังปฏิบัติส่วนใหญ่และอธิบายผลถูกต้อง                

                                2              ไม่ค่อยปฏิบัติตามเกณฑ์ แต่อธิบายผลถูกต้อง

                                1              ไม่ค่อยปฏิบัติและอธิบายผลผิดพลาดมาก (> 50%)

0              ไม่ยอมปฏิบัติเองเลย

                4.  การเขียนรายงานผู้ป่วย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

                                5              เขียนประวัติและผลการตรวจร่างกายและวิเคราะห์ วางแผนแก้ไขปัญหาครบถ้วนถูกต้องทุกหัวข้อ

                                4              เขียนเฉพาะประวัติที่สำคัญ  เขียนผลการตรวจร่างกายและวิเคราะห์ วางแผนแก้ไขปัญหาถูกต้องทุกหัวข้อ

                                3              เขียนเฉพาะประวัติที่สำคัญ  เขียนผลการตรวจร่างกายและวิเคราะห์ วางแผนแก้ไขปัญหาไม่ครบถ้วน                                2              เขียนประวัติโดยใช้ภาษาผิด เขียนผลการตรวจร่างกายและวิเคราะห์ไม่ครบถ้วน ใช้ technical term ผิด

                                1              เขียนประวัติและผลการตรวจร่างกายน้อยกว่า 50% วิเคราะห์ วางแผนแก้ไขปัญหาผิดพลาด

                5.ความเอาใจใส่และการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

                                5              แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่สม่ำเสมอ โดยไม่ต้องเตือน

                                4              แสวงหาความรู้เพิ่มเติมดีหลังจากเตือนเพียงบางครั้ง

                                3              แสวงหาความรู้เพิ่มเติมดีหลังจากเตือนหลายครั้ง

                                2              ไม่ค่อยสนใจแสวงหาความรู้ ตักเตือนหลายครั้งแล้วดีขึ้นเพียงเล็กน้อย

                                1              ไม่ค่อยสนใจแสวงหาความรู้ ตักเตือนแล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง

          6.การรักษาระเบียบวินัยและการรับผิดชอบในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

5              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบ ตรงต่อเวลาเสมอ ไม่นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

4              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบ มาสายเพียง 1-2 ครั้ง ไม่นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

3              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพไม่ค่อยสุภาพเรียบร้อยบางครั้ง ตรงต่อเวลาเสมอ ไม่นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

2              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพไม่ค่อยสุภาพเรียบร้อย และมาสายบางครั้ง ไม่นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

1              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพสุภาพเรียบร้อย แต่มาสายบ่อย ไม่นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

0              กิริยามารยาทและการแต่งกายสุภาพไม่ค่อยสุภาพอยู่เสมอ / มาสายบ่อย / นำอาหาร / ขนม มารับประทานในห้องเรียน

7.มนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้ป่วย / ญาติผู้ป่วย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

5              มีมนุษยสัมพันธ์ดี ใช้ภาษาเข้าใจง่าย อธิบายผู้ป่วยทุกราย

4              มีมนุษยสัมพันธ์ดี ใช้ภาษาเข้าใจง่าย

3              มีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ใช้ภาษาไม่ค่อยเหมาะสม

2              ไม่ค่อยสนใจหรือเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย แต่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย

1              ไม่ค่อยสนใจหรือเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย และสื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง

                8.  มนุษยสัมพันธ์และกิริยามารยาทต่ออาจารย์ ผู้ร่วมงาน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

                                5              ดีมากต่อทุกๆ คน

                                4              ดีมากเฉพาะต่ออาจารย์และผู้ป่วย/ญาติ คนอื่นๆ ดีปานกลาง

                                3              ดีมากเฉพาะต่ออาจารย์ คนอื่นๆ ดีปานกลาง

                                2              ดีปานกลางต่ออาจารย์และผู้ป่วย/ญาติ คนอื่นๆ ค่อนข้างแย่

                                1              ดีปานกลางต่ออาจารย์ คนอื่นๆ ค่อนข้างแย่

                                0              ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ หรือ กิริยามารยาทแย่มาก

 

 

 

หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน

 

1.   Vaughan  D.,  Asbury  T.,   General  OPhthalmology  15th ed., 1999.

2.    Newell  F.W.,   Ophthalmology,  Principles  and  concepts 7th ed.,1992.

3.    Kanski  J.J.,  Clinical  Ophthalmology  4thed.,  1999.

4.   Spalton  D.J.,  Hitchings  R.A.,   Hunter  P.A.,  Atlas  of  Clinical  Ophthlamology.Gower  Medical  Publishing.  London. ,  U.K. , 2nded.,.1994

5.   Moses  R.A.,  Adler’s  Physiology  of  the  eye.  Clinical application  9thed.,  1992.

6.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์, บรรณาธิการ. จักษุวิทยาสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2546

7.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์ โกศล  คำพิทักษ์, บรรณาธิการ. ตำราจักษุวิทยา . กรุงเทพ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2548

 

 

ภาคผนวก

 

เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2545
(การประชุมคณะกรรมการแพทยสภา 14 พย. 2545)
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตา

หมวดที่ 2 จำแนกตามระบบหรือชนิดของความผิดปกติ
2.1 อาการและปัญหาสำคัญ
ผู้ประกอบวิชาชีเวชกรรมต้องมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิกำเนิด  พยาธิสรีรวิทยา  สามารถวินิจฉัยแยกโรคและปฏิบัติรักษาเบื้องต้นได้เหมาะสมสำหรับอาการสำคัญ ดังต่อไปนี้
……..
-เคืองตา ตาแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาบอด ตาโปน ตาเหล่
……….
2.2 โรค/ภาวะ/กลุ่มอาการฉุกเฉิน (รวมทุกระบบ)
กลุ่มที่ 1 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค  สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นและให้การบำบัดรักษาได้อย่างทันท่วงทีตามความเหมาะสมของสถานการณ์  รู้ข้อจำกัดของตนเอง  และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าได้อย่างเหมาะสม
………..
-acute corneal abrasion and ulcer
-acute glaucoma
……….
2.3 โรคตามระบบ
I. Infectious and parasitic diseases
II. Neoplasm
กลุ่มที่ 3 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค  สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค   และรู้หลักในการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- benign and malignant neoplasm of eyes
- ……
VII. Disorders of the eye and adnexa
กลุ่มที่ 2 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดรักษาได้ด้วยตนเอง  รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถ ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและส่งต่อผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ
 -hordeolum
 -chalazion
 -conjunctivitis
กลุ่มที่ 3 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค  สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค   และรู้หลักในการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
 -disorders of ocular muscles, refraction & accommodation (strabismus, myopia, presbyopia, hypermetropia, astigmatism)
 -dacryostenosis, dacryocystitis
  -pterygium
  -keratitis, corneal ulcer
  -uveitis
  -cataract
  -glaucoma
XIX. Injury, poisoning and consequences of external causes
กลุ่มที่ 2 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบำบัดรักษาได้ด้วยตนเอง  รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถ ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและส่งต่อผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ
 -eye  injury and foreign body on external eye
 -burns

หมวดที่ 3 ทักษะการตรวจโดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน  การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทำหัตถการ
3.1 การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน  สามารถบอกข้อบ่งชี้ ขั้นตอนการตรวจ  กระทำได้ด้วยตนเองและแปลผลการตรวจได้ถูกต้อง
…………
3.1.4 Snellen chart (visual acuity measurement)
3.1.5 Ishihara chart (color blindness measurement)
3.1.6 Schiotz tonometer
3.1.7 Ophthalmoscope
………….
3.5 หัตถการที่มีความจำเป็นหรือมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
3.5.2 หัตถการที่มีความซับซ้อนกว่าหัตถการพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการรักษา
เมื่อจบแพทยศาสตร์บัณฑิต สามารถบอกข้อบ่งชี้  ขั้นตอนวิธีการทำ บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้ถูกต้อง  สามารถทำภายใต้การแนะนำได้ถูกต้อง  และเมื่อผ่านการเพิ่มพูนทักษะแล้วต้องสามารถทำได้ด้วยตนเอง
-removal of foreign body from conjunctiva
…………….
3.5.5 หัตถการเฉพาะทาง
-incision and curettage (extenal hordeolum)
-excision of pterygium
-cataract and glaucoma surgery
-probing and irrigation of nasolacrimal duct

……………………………………………
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อแนะนำในการรักษาผู้ป่วยทางจักษุวิทยาสำหรับแพทย์ทั่วไป

 

ในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ห้องแพทย์เวรซึ่งมาด้วยปัญหาเกี่ยวกับทางตานั้น

1.   ถ้าหาก extern  สามารถให้การรักษาก็ให้การรักษาเลย  และนัดผู้ป่วยให้มา  follow  up  ที่  OPD  ตาในวันรุ่งขึ้นเวลาราชการ  เพื่อให้ได้ติดตามการรักษาต่อไป

2.   ถ้าหากให้การวินิจฉัยหรือรักษาไม่ได้ให้ตามอาจารย์แพทย์ที่อยู่เวรได้ตลอดเวลา

 

การปฏิบัติเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินทางจักษุวิทยา   Burn

        Burn  ที่โคนลูกตา  ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด  เช่น   กรด  ด่าง   ความร้อน  ที่มี   corneal  involvement  ต้องการการรักษาดังนี้

        1.   ให้ผู้ป่วยนอนราบ

        2.   ใช้เครื่องมือถ่างตาเปิดหนังตาผู้ป่วยไว้  พร้อมกับหยอดยาชา  Ophthetic eye  drop  หรือ  Tetracaine eye  drop

        3.   ใช้น้ำเกลือหรือน้ำกลั่น   ขนาด  1  ลิตร  พร้อมสาย  IV  ( ไม่ต้องมีเข็ม )  แขวนกับที่แขวนแล้วล้างตาข้างนั้นทันที่   ( เปิด  free  flow )

        4.   ล้างจนกว่าแน่ใจว่ากรด  ด่าง  หรือ debris ออกหมด   ( การล้างอาจใช้น้ำประมาณ 3-4 ลิตรก็ได้ )

        5.   ย้อม  cornea  ด้วย  fluorescein  paper  เพื่อดูขนาดของแผล

        6.   ป้าย  antibiotics  eye  ointment  และปิดตาแน่น

        7.   ให้ยาแก้ปวด

        8.   นัดพบจักษุแพทย์ในวันรุ่งขึ้น

 

Superficial  foreign  body   ที่ตา

        1.   Conjunctiva

                ก)   ถ้า  F.B.  อยู่ที่  lower  palpebral  conjunctiva,bulbar  conjunctiva  หรือ  lower  fornix มักไม่มีปัญหาให้ปฏิบัติดังนี้

        1.   หยอดยาชา  ( หรือไม่หยอดยาชาก็ได้ในกรณีที่คิดว่าจะเขี่ยออกง่าย  แต่ถ้าหยอดยาชา  หลังเขี่ย  F.B.  ออกแล้วต้องปิดตาผู้ป่วย )

        2.   ใช้  cotton – bud  ชุบ  normal  saline  เขี่ย  F.B.  ออก

        3.   หยอด  antibiotic  eye  drop

        4.   ปิดตาด้วย  eyepad  ( ในกรณีที่ไม่หยอดยาชา  ไม่ต้องปิดตาก็ได้ )

                ข)   ถ้า  F.B.  อยู่ที่  upper  palpebral  conjunctiva  หรือ  upper  fornix  ต้องพลิกหนังตาบน  แล้วปฏิบัติดังกล่าวตามข้อ 

 

2   Cornea

        ส่วนใหญ่  F.B.  ที่ติดที่  cornea  เป็นเศษเหล็กมักจะมีสนิมเหล็กด้วย  ให้ปฏิบัติดังนี้

        1.   หยอดยาชา

        2.   ใช้  cotton-bud  ชุบ  normal saline  เขี่ย  F.B.  ออกก่อน

        3.   ถ้าใช้  cotton-bud  เขี่ยแล้วไม่ออกหมดให้ใช้เข็มฉีดยาพร้อม  syringe  เป็นที่จับ  ( เหมือนจับปากกา )  เขี่ย   F.B.  พร้อมสนิมเหล็กออกให้หมด

        4.   ป้าย   antibiotic  eye  ointment

        5.   ปิดตาแน่น  24  ชั่วโมง

        6.   นัดผู้ป่วยมา  OPD  จักษุในวันรุ่งขึ้น

 

ปัญหาที่พบบ่อยทางจักษุวิทยา

        1.   ตาแดง

        2.   เจ็บตา  ปวดตา

        3.    ตามัว

        4.   อุบัติเหตุที่ตา

 

1.   ตาแดง

        ผู้ป่วยตาแดงทำการวัดสายตา

        1.1   ระดับสายตาดี  นึกถึง  เยื่อบุตาอักเสบ  ควรถามต่อว่ามีขี้ตาหรือไม่มี

                ถ้ามีขี้ตา  ควรเป็น  acute  bacterial  conjunctivitis

                ถ้าไม่มีขี้ตา  แต่มีน้ำตาไหลมาก  ควรเป็น  acute  allergic  conjunctivitis

                การรักษา  acute  allergic  conjunctivitis  ให้  antibiotics eye  drop  ถ้าเป็นมากก็ให้ทุก  1  ชั่วโมง  ส่วนมากให้วันละ  4  ครั้ง

                การรักษา  acute  allergic  conjunctivitis  ให้  antinflammatory eye  drop  เช่น  steroid  eye  drop  วันละ   4   ครั้ง

        1.2   ระดับสายตาเลว

                1.2.1   ดูว่ามีแผลที่กระจกตาหรือไม่  ถ้ามีนึกถึง  corneal ulcer

                1.2.2   ไม่มีแผลที่กระจกตาให้วัดความดันของลูกตา

                                ความดันของลูกตาสูง   นึกถึงต้อหิน

                                ความดันของลูกตาไม่สูง  นึกถึงโรคกระจกตาอักเสบ  ม่านตาอักเสบ  ฯลฯ

                                การรักษา  รักษาตามสาเหตุ

 

 

2.   เจ็บตา  ปวดตา 

        2.1   ระดับสายตาดี  ดูว่ามีวัตถุแปลกปลอมที่เยื่อบุตาหรือกระจกตาหรือไม่

                2.1.1   มีวัตถุแปลกปลอมที่เยื่อบุตาหรือกระจกตาให้ย้อมกระจกตาด้วย  fluorescein  paper

                -   ถ้า  Positive  แสดงว่าเป็น  corneal abrasion  การรักษา  ป้าย  antibioties  ointment  แล้วปิดตาแน่น  24   ชั่วโมง

                -   ถ้า  negative  แสดงว่าไม่มีแผลถลอกของกระจกตา  ให้ดูว่ามีตาแดงร่วมด้วยหรือไม่

                                -   มีตาแดงร่วมด้วย  ให้กลับไปอ่าน  1.1

                                -   ไม่มีตาแดงร่วมด้วย  ควรคิดถึง   eyes   strain

        2.2   ระดับสายตาเลวลง

                2.2.1    มีตาแดงร่วมด้วย  ให้กลับไปอ่าน  1.2

                2.2.2   ไม่มีตาแดงร่วมด้วย  ให้ดู  fundus

                                -    ถ้า  disc  แดง  นึกถึง   papillitis

                                -   disc   ปกตินึกถึง  retrobulbar  neuritis

 

3.   ตามัว 

        3.1   มีอาการปวดร่วมด้วย  ให้วัดความดันของลูกตา

                3.1.1   ถ้าความดันของลูกตาสูง  นึกถึงต้อหิน

                3.1.2   ถ้าความดันของลูกตาไม่สูง  ให้กลับไปอ่าน  2.2.2

        3.2   ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย

                3.2.1   ไม่โดนอุบัติเหตุที่ตา

                                -   ให้ดูเลนส์ว่ามีต้อกระจกหรือไม่

                                -   ดู  fundus  ว่ามี  retinal  detachment, central  retinal  artery  occlusion, central  retinal  vein  occlusion,  branch  retinal  artery  occlusion, branch  retinal  vein  occlusion   เป็นต้น

                3.2.2   โดนอุบัติเหตุที่ตา  ให้ดู  4

 

4.   อุบัติเหตุที่ตา

        4.1   ระดับสายตาปกติหรือเท่าเดิม

                ถ้าตาแดง  ให้กลับไปอ่าน  1

                ถ้าเจ็บตา  ปวดตา  ให้กลับไปอ่าน  2

        4.2   ระดับสายตาผิดปกติ  ( จากเดิม  ถ้าเคยวัดมาก่อน )  ควรปรึกษาแพทย์ประจำบ้านด้วยเสมอ  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ  โดยการตรวจดู  ดังนี้

                -   anterior  chamber  ว่ามีเลือดหรือไม่  ( traumatic  hyphema )  ถ้าเป็น  traumatic  ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล  ห้ามกลับบ้าน

                -   เลนส์หลุดหรือไม่

                -   fundus  หา  lesion   ที่  retina

                -   rupture  eyeball   หรือไม่

 

 

 

คำศัพท์ทางตาที่ควรทราบ(เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการรับ-ส่งผู้ป่วยกับจักษุแพทย์)

 

คำศัพท์เกี่ยวกับกายวิภาคของตา

Uvea                      =              คือเนื้อเยื่อชั้นกลางของลูกตาประกอบด้วย ส่วนหน้าคือม่านตา(iris) ส่วนกลางคือ ciliary body และส่วนหลังคือ choroids สำหรับเนื้อเยื่อชั้นนอกของลูกตา ด้านหน้าคือ กระจกตา(cornea) ด้านหลังคือ sclera  ส่วนเนื้อเยื่อชั้นในของลูกตาคือ จอประสาทตา (retina)

Ciliary body          =              เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการสร้างน้ำ aqueous ในลูกตาและมีหน้าที่สำคัญในการเกิด accommodation ของเลนส์ อยู่ที่บริเวณใกล้ฐานของ iris

Anterior chamber =              คือช่องระหว่างด้านใน cornea ถึงแนว iris มีของเหลวใสเรียกว่า aqueous อยู่เหมือนใน posterior chamber(ช่องระหว่างแนว iris ถึงเลนส์ตา) ส่วนวุ้นลูกตา(vitreous)อยู่ใน vitreal cavity คือ space ส่วนใหญ่ของลูกตาตั้งแต่หลังเลนส์ตาไปถึงจอประสาทตา

Trabecular meshwork    =   คือทางระบาย  aqueous ออกจากลูกตาจึงมีความสำคัญในการควบคุมความดันลูกตา(intraocular pressure)

Phaco-                   =              เลนส์ตา(lens) เช่น phacoemulsification คือการสลายต้อกระจกของเลนส์ตา

Cyclo-                    =              ciliary body มีหน้าที่ในการสร้าง aqueous ในช่องหน้าเลนส์ตา

Kera-                      =              กระจกตา(cornea) เช่น keratitis คือการอักเสบของกระจกตา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปแสดงกายวิภาคของตา

 
 

 


คำศัพท์เกี่ยวกับการตรวจตา

VA                          =              visual acuity คือความสามารถในการมองเห็น

FC,HM                  =              finger count,hand motion

PJ,PL, No PL.        =              light projection (รู้ทิศของไฟ),light perception(รู้ว่ามีไฟส่องแต่บอกทิศไม่ได้,no PL.คือไม่ทราบว่ามีไฟส่องหรือไม่ ซึ่งต้องตรวจโดยไฟฉายที่มีความแรงพอและใช้ฝ่ามือปิดตาอีกข้างหนึ่งให้สนิท ถ้าผู้ป่วย no PL.แล้วมักไม่สามารถให้การรักษาให้กลับมามองเห็นได้

with PH.                                =              คือการให้ผู้ป่วยมองผ่านรู(pin hole) ถ้าสามารถมองเห็นได้ดีกว่าตาเปล่าแสดงว่าผู้ป่วยน่าจะมีสายตาผิดปกติ(refractive error)

IOP.                       =              ความดันภายในลูกตา(intraocular pressure) ค่าปกติอยู่ระหว่าง 10-22 mmHg.มักไม่เกิน 21 mmHg.ภาวะความดันภายในลูกตาสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคต้อหิน       

คำศัพท์เกี่ยวกับโรคทางตาที่ควรรู้จัก

Entropion              =              หนังตาม้วนเข้าอาจทำให้อาการเคืองตาได้

Ectropion              =              หนังตาม้วนออกอาจทำให้มีอาการน้ำตาไหลมากผิดปกติ

Ptosis                     =              หนังตาตก หนังตาบนตกถ้าบังตำแหน่งเงาของไฟฉายที่ส่องตรวจตา(light reflex) แสดงว่ามีการบังการมองเห็น(บัง visual axis)

Hordeolum(Stye)                 =              ตากุ้งยิงคือการติดเชื้อของต่อมบริเวณเปลือกตา

Chalazion              =              คือการอักเสบของต่อมบริเวณเปลือกตาแบบไม่ติดเชื้อ

Trichiasis                               =              ขนตาทิ่มตา

Esotropia                               =              ตาเขเข้าใน

Exotropia                              =              ตาเขออกนอก

Eso-,Exophoria    =              ตาเขซ้อนเร้น

Amblyopia            =              ตาขี้เกียจเกิดจากการไม่ได้พัฒนาการมองเห็นในช่วง 8-10 ขวบแรก

Blow-out fracture                =              ภาวะบาดเจ็บที่มี fracture floor of orbit ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มักแตกหักเมื่อมี blunt trauma ต่อกระบอกตา

Hyphema              =              เลือดออกในช่องหน้าลูกตา(anterior chamber)

Hypopyon            =              หนองในช่องหน้าลูกตา

Endophthalmitis   =              การอักเสบในลูกตาทั้งลูก เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อตา 2 ชั้นและมีการอักเสบของวุ้นลูกตา(vitritis) ร่วมด้วย

Emmetropia          =              สายตาปกติคือภาวะที่แสงตกที่จอประสาทตาพอดี

Refractive error    =              ภาวะสายตาผิดปกติ คือ hyperopia,myopia,astigmatism และ presbyopia

Hyperopia             =              สายตายาวคือภาวะที่แสงตกเลยจอประสาทตา

Myopia                  =              สายตาสั้นคือภาวะที่แสงตกก่อนถึงจอประสาทตา

Astigmatism          =              สายตาเอียงคือสายตาในแต่ละระนาบของกระจกตาสั้นยาวไม่เท่ากันในตาข้างเดียวกัน

Anisometropia      =              คือภาวะสายตาสั้นยาวไม่เท่ากันระหว่าง 2 ตา

Presbyopia            =              สายตาคนแก่ มักพบเมื่ออายุประมาณ 40ปีขึ้นไปจากความสามารถในการเพ่ง (accommodation) ลดลง ผู้ป่วยมองไกลชัดปกติแต่มองใกล้ไม่ชัด ต้องใช้แว่นกำลังบวก(reading glasses)ช่วยในการมองใกล้

Pinguecula            =              ต้อลมคือการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อใต้เยื่อบุตา เป็นเยื่อตาขาวหนาตัวขึ้นเป็นก้อนบริเวณตาขาว

Pterygium             =              ต้อเนื้อคือการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อใต้เยื่อบุตา เห็นเป็นเนื้อเยื่อสามเหลี่ยมลามเข้าบริเวณกระจกตา(cornea)

Cataract                 =              ต้อกระจกคือการขุ่นมัวของเลนส์ตา

Glaucoma              =              ต้อหินคือภาวะที่มีการทำลาย optic disc และมีการเสียของลานสายตา โดยมีความดันภายในลูกตา(intraocular pressure)สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ROP.                      =              โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด(retinopathy of prematurity) เป็นโรคจอประสาทตาในทารกที่คลอดก่อนกำหนดทำให้เส้นเลือดจอประสาทตายังเจริญไม่เต็มที่จึงทำให้จอประสาทตาลอกได้

 

คำศัพท์เกี่ยวกับการรักษาตา

ICCE                      =              คือการผ่าตัดต้อกระจกแบบเอาเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออกทั้งอัน

ECCE                     =              คือการผ่าตัดต้อกระจกแบบเหลือเยื่อหุ้มเลนส์ตาไว้สำหรับใส่เลนส์แก้วตาเทียม(IOL)

Phacoemulsification            =              คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายต้อกระจกแล้วดูดออก เหลือเยื่อหุ้มเลนส์ไว้ใส่ IOL.ได้เช่นกันแต่ขนาดแผลจะเล็กกว่า

IOL.                       =              intraocular lens คือเลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่หลังการผ่าตัดต้อกระจก

Surgical PI.           =              surgical peripheral iridectomy คือการผ่าตัดม่านตา(iris)บริเวณริมเพื่อเปิดทาง drain ของ aqueous จาก posterior chamber มาที่ anterior chamber เพื่อลด intraocular pressure ในโรคต้อหิน มักมองเห็นเป็นรูของ Iris ที่ตำแหน่ง periphery

LPI.                        =              laser peripheral iridotomy คือการใช้เลเซอร์ยิงม่านตาบริเวณริมเพื่อลดความดันตา

Trabeculectomy   =              การผ่าตัดทำทางระบาย aqueous ออกจาก anterior chamber ในผู้ป่วยโรคต้อหิน เพื่อลดความดันภายในลูกตา

Evisceration          =              คือการ remove intraocular content ออกเหลือเฉพาะชั้นนอกสุด(sclera) นิยมทำใน endophthalmitis เพราะช่วยป้องกันเชื้อกระจายไปเนื้อเยื่อรอบลูกตา

Enucleation           =              คือการเอาลูกตาออกรวมทั้งชั้น sclera ด้วย ข้อบ่งชี้ที่พบได้บ่อย คือ intraocular malignancy

Exenteration         =              คือการเอาลูกตาออกรวมทั้ง soft tissue รอบลูกตาด้วย

Penetrating Keratoplasty(PK.)=       คือการเปลี่ยนกระจกตาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วมาแทน ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นดีได้เฉพาะในรายที่การมองไม่เห็นเกิดจากความผิดปกติของกระจกตาเท่านั้น เช่น corneal scar เป็นต้น

PRK.                      =              photo-refractive keratectomy เป็นวิธีการใช้แสงเลเซอร์(Excimer Laser) ฝานบริเวณกลางกระจกตาเพื่อแก้ไขภาวะสายตาสั้น

 LASIK                  =              laser in situ keratomileusis คือการแก้ไขภาวะสายตาสั้นโดยการใช้  excimer Laser ฝานกระจกตาหลังจากใช้มีดขนาดเล็ก(microkeratome)เปิดผิวกระจกตาเป็นบานพับก่อน เมื่อยิงเลเซอร์แล้วจึงปิดผิวกระจกตากลับมาตามเดิมทำให้ไม่ค่อยมีอาการเจ็บตาหลังผ่า

 

 

 

 

 

 

รายการส่วนประกอบและราคายาทางตาที่พบบ่อย

 

กลุ่ม/Trade name

ส่วนประกอบ

cc

ราคาประมาณ(บาท)

ANTIBIOTIC

Chlor-oph ed.

Chloram.5mg/cc

10

30

Garamycin ed.

3% Gentamicin sulfate

5

85

Flucithalmic eo.

Fusidic acid

5g.

70

Kemicitin eo.

Chloram.1.00%

5g.

40

Neopolycin ed.

Neomycin1.75mg+Polymyxin B5000u+Gramicidin25mg

5

70

Poly-oph ed.

Neomycin 2 mg+Polymyxin B5000u+Gramicidin25mg

10

49

Terramycin eo.

Oxytetracycline0.5%+Polymyxin B10000u

3.5g.

27

ANTIBIOTIC+STEROID

Dexoph ed.

Dexa.1mg+Neomycin0.35%

4

33

Sofradex ed.

Dexa.500mg.+Framycetin 5mg.+Gramicidin50mg

8

90

CORTICOSTEROIDS

Flucon ed.

Flurometholone0.1%

5

67

FML ed.

Flurometholone0.1%+

5

80

MIOTICS

Pilocarpine ed.

1,2,4% Pilocarpine HCl

5

40, 60, 80

ANTIGLAUCOMA

Glauco-Oph ed.

0.5%Timolol maleate

5

240

Timoptol ed.

0.5%Timolol maleate

5

220

ANTIHISTAMINE,VASOCONSTRICTORSS

Hista-Oph ed.

0.05%Antazoline HCl+0.04%Tetryzoline HCl

10

60

Spersallerg ed.

0.05%Antazoline HCl+0.04%Tetryzoline HCl

10

127

Alomide ed.

0.1% Lodoxamide

5

184

ANESTHETICS

Novesin ed.

0.4%Oxybuprocaine HCl

10

82

Ophthetic ed

0.5%Proparacaine HCl

15

82

CATARACT

Catalin ed.

Pirenoxine 0.75

15

110

Quinax ed.

Na.dihydroazapentacene polysulfonate

15

86

LUBRICANT

Opsil Tears ed.

Hydroxypropyl Methylcellulose0.3%

15

33

 

 

 

คำย่อทางจักษุวิทยาที่ควรทราบ

Ocular Examination

CC          =  with correction

CF          =  counting finger

HM         =  hand motion    

IOP        =  intraocular pressure

OD         =  oculus dexter = RE = right eye

OS          =  oculus sinester = LE = left eye

OU         =  oculus uterqe = BE = both eyes

PD          =  pupillary distance

PH          =  pinhole

PJ            =  light projection

PL           =  light perception

RAPD    =  relative afferent pupillary defect

SC           =  without correction

VA          =  visual acuity    

VF          =  visual field

 

External Eye Segment

RUL       =  right upper lid

RLL        =  right lower lid

LUL       =  left upper lid

LLL        =  left lower lid

ET           =  esotropia

XT          =  exotropia

Alt.          =  alternate

DD          =  prism diopter

E             =  esophoria

X             =  exophoria

HT          =  hypertropia

AC/A      =  accommodative convergence to accommodation ratio

NPA       =  near point of accommodative

NPC       =  near point of convergence

DVD      =  dissociated vertical deviation

 

Anterior Eye Segment

AACG    =  acute angle closure glaucoma

A/C         =  anterior chamber

ASC        =  anterior subcapsular cataract

CACG    =  chronic angle closure glaucoma

C/F         =  cells and flare

HMC      =  hypermature cataract

IK           =  interstitial keratitis

IOL        =  intra-ocular lens

KP          =  keratic precipitate

NS          =  nuclear sclerosis

PAS        =  peripheral anterior synechia

PCO       =  posterior capsule opacity

PEE        =  punctate epithelial erosion

POAG    =  primary open angle glaucoma

PSC        =  posterior subcapsular cataract

TM         =  trabecular meshwork

SIC         =  senile immature cataract

SMC       =  senile mature cataract

SPK        =  superior punctate keratitis

 

Investigation

DCG      =  dacryo-cystogram

EOG       =  electro-oculogram

ERG       =  electroretinogram

FCT        =  fluorescein clearance test

FFA        =  fundus fluorescein angiography

UBM      =  ultrasonic Bio-Microscope

U/S         =  ultrasound

VEP       =  visual evoked potential

VER       =  visual evoked response

 

Posterior Eye Segment

AION     =  anterior ischemic optic neuropathy

AMD      =  age-related macular degeneration

APMPPE=  acute posterior multifocal placoid pigment epitheliopathy

BDR       =  background diabetic retinopathy

BRAO    =  branch retinal artery occlusion

BRVO   =  branch retinal vein occlusion

CME      =  cystoid macula edema

CRAO    =  central retinal artery occlusion

CRVO   =  central retinal vein occlusion

CSME    =  clinically significant macular edema

CSR        = central serous retinochoroidopathy

DR          =  diabetic retinopathy

ERM      =  epiretinal membrane

ICE         =  irido-corneal endothelial syndrome             

ICSC      =  idiopathic central serous chorioretinopathy

IOFB     =  intra-ocular foreign body

MH         =  macular hole

NV         =  neovascularization

PDR       =  proliferative diabetic retinopathy

PHPV    =  persistent hyperplasia primary vitreous

PPDR    =  pre-proliferative diabetic retinopathy

PVD       =  posterior vitreous detachment

PVR       =  proliferative vitreo-retinopathy

RD          =  retinal detachment

ROP       =  retinopathy of prematurity

RP          =  retinitis pigmentosa

RPE        =  retinal pigment epithelium

RRD       =  rhegmatogenous retinal detachment

Total RD               =  total retinal detachment

TRD       =  trational retinal detachment

VH         =  vitreous hemorrhage

 

Ophthalmic surgery

ALT        =  argon laser trabeculoplasty

AMT      =  amniotic membrane transplant

Combined =  trabeculoplasty + cataract surgery

DCR       =  dacryocystorhinostomy

DTSCP  =  diode transcleral cyclophotocoagulation

ECCE     =  extracapsular cataract extraction

EDL       =  endolaser

FGX       =  fluid-gas exchange

HHA      =  human hydroxy apatite

ICCE      =  intracapsular cataract extraction

IOL        =  intraocular lens

LASER  =  light amplification by stimulated emission of radiation

LASIK   =  laser in situ keratomileusis

LK          =  lamellar keratoplasty

LPI         =  laser peripheral iridotomy

LTP        =  laser trabeculoplasty

MPC      =  membrane peeling and cutting

Nd-YAG                =  neodinium yithium aluminium granet 

PHACO =  phacoemulsification

PI            =  peripheral iridectomy

PK(P)     =  penetrating keratoplasty (procedure)

PPL        =  pars plana lensectomy

PPV       =  pars plana vitrectomy

PRK       =  phetorefractive keratectomy

PRP        =  panretinal photocoagulation

RK          =  radial keratotomy

SBP        =  scleral buckling procedure

SMT       =  segmentation

Tripple   =  PK + cataract surgery + IOL