E-LEARNING

กิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนการบรรยายทางวิชาการ

 

 

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

แพทย์ประจำบ้านจักษุวิทยาปีที่ 1

 

ภาควิชาจักษุวิทยา

 

 

 

คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ประจำปีการศึกษา  ๒๕๔๙

 

 

 

เนื้อหาของหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา

ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

 

                เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาจักษุวิทยา ควรมีความรู้ความสามารถในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

 

1.       Update on General Medicine

2.       Fundamentals and Principles of Ophthalmology

3.       Optics, Refraction, and Contact Lenses

4.       Ophthalmic Pathology and Intraocular Tumors

5.       Neuro-Ophthalmology

6.       Pediatric Ophthalmology and Strabismus

7.       Orbit, Eyelids, and Lacrimal System

8.       External Diseases and Cornea

9.       Intraocular Inflammation and Uveitis

10.    Glaucoma

11.    Lens and Cataract

12.    Retina and Vitreous

13.    Public Health Ophthalmology

14.    Research in Ophthalmology

15.    Computer in Ophthalmology

 

 

รายนามคณาจารย์ภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                1  อาจารย์  นายแพทย์  ศักดิ์ชัย      วงศกิตติรักษ์                                 

 -  พบ.   เกียรตินิยม  ( รามาธิบดี )

 -   นบ.   ( รามคำแหง )

-   ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  ( จุฬา )

-  ว.ว   จักษุวิทยา  ( จุฬาลงกรณ์ )

-   อ.ว.  เวชศาสตร์ครอบครัว

-   รองประธานวิชาการชมรมจักษุวิทยาเด็กและตาเข

                2  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์  วิชัย      ลีละวงศ์เทวัญ

                   -  พบ.  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                -   ว.ว.   จักษุวิทยา   ( จุฬาลงกรณ์ )

                   -   กรรมการชมรมจักษุแพทย์ไทยด้านสายตา

                3  รองศาสตราจารย์  นายแพทย์  โกศล     คำพิทักษ์

                   -  พบ.  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  ( จุฬาลงกรณ์ )

-   Cornea  and  refractive  surgery ,  Royal  Eye  and  Ear  hospital    Melbourne  Australia  

          4   อาจารย์  แพทย์หญิง  วราภรณ์     บูรณะตรีเวทย์

                   -   พบ.  ( เชียงใหม่ )

                          -    อ.ว. จักษุวิทยา  ( เชียงใหม่ )

                                -    จักษุตกแต่งเสริมสร้าง  ( รามาธิบดี)

                5  อาจารย์  นายแพทย์  ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

                   -  พบ. (รามาธิบดี)

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  ( รามาธิบดี )

                                -    จอประสาทตา  ( รามาธิบดี )

                6   อาจารย์   แพทย์หญิง  มัญชิมา      มะกรวัฒนะ   

                                -    พบ.  ( จุฬา  )

                                -   ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาจักษุวิทยา  ( จุฬา )

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  ( จุฬา )

                                  -   Certificate  of  Clinical Glaucoma  and  Surgery  Fellowship ,the New York Eye and Ear Infirmary, New York USA    

                       -   Neuro-Ophthalmology, the New York Eye and Ear Infirmary, New York USA

                7  อาจารย์    นายแพทย์  ณวพล          กาญจนารัณย์

                   -   พบ.  ( ศิริราช )

                                -    ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก  สาขาจักษุวิทยา  ( มหิดล )

                                -    ว.ว  จักษุวิทยา  ( ศิริราช )

                                -    อ.ว.  เวชศาสตร์ครอบครัว

                8  อาจารย์    แพทย์หญิง   นรากร       วิมลเฉลา

                   -   พบ.  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                -    ป.  บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาจักษุวิทยา  ( ขอนแก่น )

                                -    ว.ว.  จักษุวิทยา  ( ขอนแก่น )

                   -  ลาศึกษาต่อโรคต้อหิน University of Columbia LA สหรัฐอเมริกา

                9 อาจารย์  แพทย์หญิง  วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

                   -   พบ.  ( รามาธิบดี )

                          -    อ.ว. จักษุวิทยา  ( เชียงใหม่ )

                                -    อนุสาขากระจกตา  (ศิริราช)

                 10 แพทย์หญิง      สุพินดา   ถนอมรอด

                                -   พบ.  เกียรตินิยม    ( ศิริราช )

                                -   ลาศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้าน  ( ศิริราช )

 

            รายนามคณาจารย์พิเศษ

                1      พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

                   -  พบ. (รามาธิบดี)

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  ( รามาธิบดี )

                                -    อนุสาขากระจกตาตา  ( รามาธิบดี )

                2.   นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

                   -  พบ. (รามาธิบดี)

                                -   ว.ว.  จักษุวิทยา  ( รามาธิบดี )

                3.  พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

                                - พบ. (ขอนแก่น)

                                - วุฒิบัตรจักษุวิทยา (ขอนแก่น)

4.  พญ.  โสฬส   วุฒิพันธ์

                   -  พบ. ( ศิริราช  ) 

                                 -   วุฒิบัตรจักษุวิทยา ( รามาธิบดี )

                 -  Fellowship  in  Strabismus ,  The  Royal  Eye  and  Ear  Hospital  ,  Melbourne  University  ,  Australia            

                5.     นพ.  กิตติชัย    อัครพิพัฒน์กุล

                   -  พบ. ( จุฬาลงกรณ์  )

                                 -   วุฒิบัตรจักษุวิทยา  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                 -   อนุสาขาจอประสาทตา   ( ราชวิถี )

                6.     พญ.    นิภาภรณ์    มณีรัตน์

                    -  พบ. ( จุฬาลงกรณ์ ) 

                                 -  วุฒิบัตรจักษุวิทยา  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                   -   อนุสาขากระจกตา  ( จุฬาลงกรณ์ )

                7.        นพ. กีรติ   พึ่งพาพงษ์

                   - พบ.  ( จุฬาลงกรณ์ )

                                 -  วุฒิบัตรจักษุวิทยา  ( จุฬาลงกรณ์ )

              -  Certificate of Research Oculoplastic and Reconstructive Surgery   Fellowship, The Massachusetts Eye and Ear Infirmary,   Boston, USA

 

 

            รายนามคณาจารย์ศูนย์จักษุกุมาร  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (สถาบันสมทบ)

1.     พญ.ไอรีน  ศุภางคเสน

2.     พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์

3.     พญ.บังอรรัตน์  เกยุราพันธุ์

 

แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาจักษุวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1(รุ่น 1)

 

1. พญ.สุนทรี ธิติวิเชียรเลิศ                

2.นพ.วรวิทย์  อึ้งภูรีเสถียร                   

3.พญ.ปิยะดา  พูลสวัสดิ์                                        

4.พญ.รัชดาภรณ์  ตันติมาลา                                                       

 

ส่วนการบรรยายทางวิชาการ

 

ประเภทของหัวข้อการบรรยาย

A : Basic science     : เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการรับความรู้ทางคลินิกของจักษุวิทยาต่อไป

B : Clinical science              : เพื่อใช้เป็นความรู้ทางคลินิก ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

C : Competency       : เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นจักษุแพทย์ที่ประสบความสำเร็จในอนาคต นอกจากความรู้ในตำรา

หมายเหตุ : หัวข้อการบรรยายของแพทย์ประจำบ้านทั้ง 3 ชั้นปี จะประกอบด้วยหัวข้อทั้ง 3 ประเภท โดยชั้นปีที่ 1 เน้นประเภท Basic science ,ชั้นปีที่ 2 เน้นประเภท Clinical science และชั้นปีที่ 3 เน้นการพัฒนา Competency และเตรียมการสอบวุฒิบัตร

เวลาบรรยาย : 13.30 – 15.30 น.

 

การประเมินผล

Formative Evaluation : สังเกต  สอบถามในห้องเรียน

                      อาจารย์ในแต่ละหัวข้อ ให้ออกข้อสอบชนิด 5 ตัวเลือก หัวข้อละ 5 ข้อ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านทำสอบเป็นระยะ

Summative Evaluation : สอบปลายปีการศึกษา            

 

หัวข้อการบรรยาย

หมายเหตุ : กรณีวันบรรยายตรงวันหยุด หรือมีเหตุให้ไม่มีการบรรยาย ให้แพทย์ประจำบ้านติดต่ออาจารย์ผู้สอนเพื่อนัดวันสอนให้ครบ

 

History taking and eye examination

พฤหัสบดี  1  มิถุนายน  2549                                      

อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

Ophthalmic instruments

ศุกร์  2  มิถุนายน  2549  ( 9.00 12.00 น.)              

อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

Orientation to ophthalmic procedures

ศุกร์  2  มิถุนายน  2549                                               

ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

Cornea & External disease : anatomy, testing, common external disease                         

จันทร์  5  มิถุนายน  2549                                            

รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

Cornea & External disease : common disease

อังคาร  6  มิถุนายน  2549                                           

รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

Diseases of lenses : anatomy, cataract, lens dislocate              

พฤหัสบดี  8  มิถุนายน  2549                                      

อ.นพ.ณวพล  กาญจนารัณย์

Retina: anatomy, blood ocular barrier                                         

จันทร์  12  มิถุนายน  2549                                          

อ.นพ.ณวพล  กาญจนารัณย์

Retina : Diabetic retinopathy, Hypertensive retinopathy          

อังคาร  13  มิถุนายน  2549                                         

อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

Common eyelid tumor                

พฤหัสบดี  15  มิถุนายน  2549                     

อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

Uveitis : intermediate uveitis, posterior uveitis                         

จันทร์  19  มิถุนายน  2549                                          

อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

Low vision : terminology, instrument, concept of treatment                                    

อังคาร  20  มิถุนายน  2549                                         

อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

Ocular trauma : anterior segment trauma                          

พฤหัสบดี  22  มิถุนายน  254929  มิถุนายน  2549  

อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

Ocular trauma : posterior segment trauma                          

จันทร์  26  มิถุนายน  2549                                          

อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

Glaucoma : terminology, anatomy, aqueous humor dynamic, testing                         

อังคาร 27  มิถุนายน  2549

อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

Glaucoma : POAG, CACG, NTG, OHT  Burnt out glaucoma                                     

พฤหัสบดี  29  มิถุนายน  2549

อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

Common drugs use in Ophthalmology                           

จันทร์  3  กรกฎาคม  2549                                          

อ.พญ.วราภรณ์  บูรณะตรีเวทย์

Optic & Refraction : basic principle of optic & refraction  

อังคาร  4  กรกฎาคม  2549                                         

ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงษ์เทวัญ

Glaucoma : antiglaucoma drugs

พฤหัสบดี  6  กรกฎาคม  2549                     

อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

Ethics & Laws in Ophthalmology                           

พฤหัสบดี  13  กรกฎาคม  2549                    

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Pediatric : normal eye development                               

จันทร์  17  กรกฎาคม  2549                                        

อ.พญ.ไอรีน  ศุภางคเสน

Pediatric : visual acuity (VA) testing in children                       

อังคาร  18  กรกฎาคม  2549                                       

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Neuro-oph : visual pathway & Visual field defect                      

จันทร์  24  กรกฎาคม  2549                                      

อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

Uveitis : basic immunology, anterior uveitis                           

จันทร์  31  กรกฎาคม  2549                                      

อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

Retina : Retinal detachment     

จันทร์  7  สิงหาคม  2549                          

อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

Strabismus : assessment of eye movement, testing                      

พุธ  16  สิงหาคม  2549                                              

อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

Cornea : allergic conjunctivitis 

จันทร์  21  สิงหาคม  2549                        

อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

Coding in ophthalmology (DRG & ICD 10)

จันทร์  28  สิงหาคม  2549                        

อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์

Basic Ophthalmic Laser and Ultrasound (A scan, B scan)      

จันทร์  4  กันยายน  2549                          

อ.นพ.กิตติชัย  อัครพิพัฒน์กุล

Neuro-oph : Anterior Ischemic Optic Neuropathy (AION)        

จันทร์  11  กันยายน  2549                        

รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

Power point Presentation Skill  

จันทร์  18  กันยายน  2549                        

อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

Pediatric & Strabismus : Esotropia, Exotropia                  

พุธ  20  กันยายน  2549                           

อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

Research methodology part I     

ศุกร์  6  ตุลาคม  2549                             

อ.พญ.รุ่งทิพย์  สุขวรรณ

Research methodology part II   

ศุกร์  13  ตุลาคม  2549                           

อ.พญ.รุ่งทิพย์  สุขวรรณ

Retina : retinal vascular disease

จันทร์  16  ตุลาคม  2549                         

อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

Glaucoma : Visual field interpretation                             

จันทร์  30  ตุลาคม  2549                         

อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

Glass & Frame                           

จันทร์  6  พฤศจิกายน  2549                                  

อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์

Cornea : corneal ulcer, technique in corneal scraping    

จันทร์  13  พฤศจิกายน  2549                    

อ.พญ.นิภาภรณ์  มณีรัตน์

Orbit : orbital fracture              

จันทร์  20  พฤศจิกายน  2549                    

อ.นพ.กีรติ  พึ่งพาพงษ์

Glass manufacturing                  

จันทร์  27  พฤศจิกายน  2549                    

Staff ทุกท่าน

Neuro-oph : optic neuritis          

จันทร์  4  ธันวาคม  2549                          

อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

Pediatric & Strabismus : Retinopathy of Prematurity (ROP)

จันทร์  11  ธันวาคม  2549

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Public Eye Health                      

จันทร์  18  ธันวาคม  2549                        

อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์

Ocular Pathology                       

จันทร์  25  ธันวาคม  2549                        

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Retina : retinoblastoma             

จันทร์  8  มกราคม  2550                          

อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

Ophthalmic Drugs and Instrument Supplier                   

จันทร์  15  มกราคม  2550                        

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Glaucoma : Neovascular Glaucoma                                    

จันทร์  22  มกราคม  2550                        

อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

Cornea : specular microscope   

จันทร์  29  มกราคม  2550                        

อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

Pearl & Pitfall in ECCE            

จันทร์  5  กุมภาพันธ์  2550                        

อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

Orbit : orbital tumor                  

จันทร์  12  กุมภาพันธ์  2550                       

อ.นพ.กีรติ พึ่งพาพงษ์

Neuro-oph : traumatic optic neuropathy                                  

จันทร์  19  กุมภาพันธ์  2550                       

อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

Wet lab : Extracapsular Cataract Extraction (ECCE)    

จันทร์  26  กุมภาพันธ์  2550                       

ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

Intra-ocular Lens (IOL) : type, power calculation                       

จันทร์  5  มีนาคม  2550                            

อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

Pediatric & Strabismus : prescribing glasses in children   

จันทร์  12  มีนาคม  2550                          

อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

Retina : choroidal mass (MM, hemangioma, matastatic tumor)

จันทร์  19  มีนาคม  2550                          

อ.นพ.กิตติชัย  อัครพิพัฒน์กุล

CPG guideline                            

จันทร์  26  มีนาคม  2550                          

รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

Glaucoma : congenital glaucoma                                     

จันทร์  2  เมษายน  2550                           

อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

Cornea : eye banking                 

จันทร์  9  เมษายน  2550                           

อ.พญ.นิภาภรณ์  มณีรัตน์

Orbit & Eyelid : blepharoplasty

จันทร์  23  เมษายน  2550                         

อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

Neuro-oph : third nerve palsy   

จันทร์  30  เมษายน  2550                         

อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

Pediatric & Strabismus : fourth nerve palsy                                 

พุธ  9  พฤษภาคม  2550                           

อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

Contact lenses                                        

จันทร์  14  พฤษภาคม  2550                       

ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

Electrophysiologic tests             

จันทร์  21  พฤษภาคม  2550                       

อ.พญ.เบญจวรรณ  วุฒิวรวงศ์

Basic knowledge of ophthalmic instruments                                 

จันทร์  28  พฤษภาคม  2550                       

อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

 

รายละเอียดหัวข้อการบรรยาย

 

1.หัวข้อ : History taking and eye examination

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                            

วันที่ : พฤหัสบดี  1  มิถุนายน  2549                                                                     

ผู้สอน : อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

หลักการและเหตุผล :   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีพื้นฐานในการซักประวัติและการตรวจร่างกายทางตา ที่ถูกต้อง  สามารถคิด  ถามประวัติ  และเลือกการตรวจที่เหมาะสมในแต่ละอาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ       

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                 

-         ประวัติที่สำคัญทางตา ตามรายปัญหา (Problem – orientated) และการซักประวัติที่เป็น key word ในแต่ละโรค

-         การตรวจตาพื้นฐาน และวิธีการตรวจพิเศษต่างๆ                                               

 

 

2.หัวข้อ : Ophthalmic instruments

                    - Slit lamp, indirect ophthalmoscope, gonioscopy

ประเภทหัวข้อ :  Basic science        

วันที่ : ศุกร์  2  มิถุนายน  2549   ( 9.00 12.00 น.)                                            

ผู้สอน : อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

หลักการและเหตุผล :   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้อง ของเครื่องมือที่ใช้บ่อยในทางจักษุวิทยา สามารถเลือกวิธีการใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทราบข้อดี ข้อจำกัด และเงื่อนไขในการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

-         หลักการทั่วไปของเครื่องมือทางจักษุวิทยา  ส่วนประกอบต่างๆที่จำเป็น

-         ข้อบ่งชี้ในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละชนิด และการเลือกวิธีการใช้เครื่องมือนั้นๆ

-         ทราบ clinical use ของการตรวจด้วยเครื่องมือ และการแปลผลที่ถูกต้อง

 

 

3.หัวข้อ : Orientation to ophthalmic procedures

                    - Schiotz’s tonometer, irrigate sac, schirmer’s test

                    - I&C, pressure patch, electrolysis, punctual occlusion     

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : ศุกร์  2  มิถุนายน  2549                                                                              

ผู้สอน : ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

หลักการและเหตุผล :  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้พื้นฐานทางวิชาการในหัตถการระดับต้นที่พบบ่อย เพื่อสามารถนำไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวแก่บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆได้อย่างมั่นใจ  

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                 

-         หลักการทั่วไป และส่วนประกอบที่จำเป็นของเครื่องมือ หรือเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในหัตถการระดับต้น

-         ทราบขั้นตอนการใช้  ข้อบ่งชี้  ข้อดี และข้อจำกัดของหัตถการนั้น

-         วิธีการเลือกใช้หัตถการแต่ละชนิด และการแปลผลที่ถูกต้อง                           

 

 

4.หัวข้อ : Cornea & External disease : anatomy, testing, common external disease

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  5  มิถุนายน  2549                                                                           

ผู้สอน : รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

หลักการและเหตุผล :   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคของตาส่วนหน้าที่ถูกต้อง  ทราบข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับทางคลินิก  และนำความรู้ทางกายภาพไปสัมพันธ์กับทางคลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ           

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                 

-         กายวิภาคของตาส่วนหน้า  และข้อมูลที่สำคัญ

-         วิธีการตรวจตาส่วนหน้า  อุปกรณ์  ข้อบ่งชี้  การแปลผล

-         Clinical correlation ของกายวิภาคกับโรคที่เกี่ยวข้องกับตาส่วนหน้าต่างๆ    

 

 

5.หัวข้อ : Cornea & External disease : common disease เช่น Foreign body (FB), corneal ulcer            

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : อังคาร  6  มิถุนายน  2549                                                                          

ผู้สอน : รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

หลักการและเหตุผล :  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับโรคตาที่พบบ่อยในส่วนหน้าของตา สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและสามารถถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรระดับอื่นได้อย่างถูกต้อง                       

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ความรู้ทั่วไปทางกายภาพของลูกตาส่วนหน้า ที่มีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่พบบ่อย

-         โรคตาที่พบบ่อยในตาส่วนหน้า พยาธิวิทยา พยาธิสรีระวิทยา ธรรมชาติของโรค และแนวทางการดูแลรักษา                           

 

 

6.หัวข้อ : Diseases of lenses : anatomy, cataract, lens dislocate     

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : พฤหัสบดี  8  มิถุนายน  2549                                                                     

ผู้สอน : อ.นพ.ณวพล  กาญจนารัณย์

หลักการและเหตุผล :  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของเลนส์ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดโรคตามากมาย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของจักษุแพทย์ทั่วไป และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ เพื่อให้ทราบถึงโรคของเลนส์ตาซึ่งพบได้บ่อย

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของเลนส์ตา สัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติทางคลินิกที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ

-         ความรู้เรื่องโรคต้อกระจก ชนิด อาการ แนวทางการให้การดูแลรักษา

-         ปัญหาเลนส์ตาเคลื่อน สาเหตุ การวินิจฉัยและการให้การรักษา                       

 

 

7.หัวข้อ : Retina: anatomy, blood ocular barrier  

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  12  มิถุนายน  2549                                                                         

ผู้สอน : อ.นพ.ณวพล  กาญจนารัณย์

หลักการและเหตุผล : เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจอประสาทตา ทั้งด้านกายวิภาค สรีระวิทยา เพื่อให้เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคจอประสาทตาได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ       

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาค และจุลกายวิภาคของจอประสาทตา รวมทั้งหน้าที่ของส่วนต่างๆของจอประสาทตา

-         สรีระวิทยา และพยาธิสรีระวิทยาของจอประสาทตา ที่ทำให้เกิดโรคทางตาที่สำคัญและพบได้บ่อย          

 

 

8.หัวข้อ : Retina : Diabetic retinopathy, Hypertensive retinopathy         

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : อังคาร  13  มิถุนายน  2549                                                                        

ผู้สอน : อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

หลักการและเหตุผล : จอประสาทตาเป็นส่วนของร่างกายที่สามารถมองเห็นเส้นเลือดระดับเส้นเลือดฝอยได้ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน จึงสามารถใช้ในการช่วยการวินิจฉัยโรคทางร่างกายหลายโรค รวมทั้งโรคที่มีผลต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพที่จอประสาทตาได้ แพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถเข้าใจภาวะโรคตาที่เกิดจากโรคทางกายได้                            

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ระบาดวิทยา กลไกการเกิดโรคเบาหวานจอประสาทตา ความสำคัญ ระยะต่างๆของโรค

-         แนวทางการตรวจคัดกรองและให้การรักษาโรคเบาหวานจอประสาทตาในระยะและรูปแบบต่างๆ

-         การวิจัยที่ได้รับการยอมรับและนำไปสู้แนวทางการดูแลรักษาโรคเบาหวานจอประสาทตา

-         ระบาดวิทยา กลไกการเกิดภาวะผิดปกติของจอประสาทตาในโรคความดันโลหิตสูง ความสำคัญ ระยะต่างๆของโรค                                                                                                                  

 

 

9.หัวข้อ : Common eyelid tumor                             

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พฤหัสบดี  15  มิถุนายน  2549                                     

ผู้สอน : อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

หลักการและเหตุผล : ก้อนชนิดต่างๆที่เปลือกตาเป็นโรคที่พบบ่อย อาจเป็นทั้งโรคที่มีความรุนแรง และอาจไม่รุนแรง ซึ่งผู้ป่วยและจักษุแพทย์อาจมองข้ามไป  ดังนั้นการเรียนรู้ถึงภาวะก้อนชนิดต่างๆที่เปลือกตา จะทำให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้และความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วย                                                                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคและเนื้อเยื่อชั้นต่างๆของเปลือกตา

-         Terminology ทางพยาธิวิทยาที่พบบ่อยในภาวะก้อนที่เปลือกตา

-         ก้อนที่เปลือกตาที่พบบ่อย การวินิจฉัย ความรุนแรงของโรค และแนวทางการรักษา                     

 

 

10.หัวข้อ : Uveitis : intermediate uveitis, posterior uveitis   

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  19  มิถุนายน  2549                                                                         

ผู้สอน : อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

หลักการและเหตุผล : ภาวะอักเสบของ intermediate และ posterior ของ uvea เป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลถึงการมองเห็นของผู้ป่วย  การวินิจฉัยอาจทำได้ยาก โดยต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมและให้แนวทางการราที่เหมาะสม จึงจะสามารถรักษาภาวการณ์มองเห็นของผู้ป่วยไว้ได้                                                                        

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         กายวิภาคของเนื้อเยื่อ uvea ทั้งบริเวณ intermediate และ posterior zone

-         โรค uveitis ที่พบบ่อยในบริเวณ intermediate และ posterior zone อาการแสดง  การวินิจฉัยแยกโรค และแนวทางการรักษา                                                                                                    

 

 

11.หัวข้อ : Low vision : terminology, instrument, concept of treatment  

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : อังคาร  20  มิถุนายน  2549                                                                        

ผู้สอน : อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันแนวคิดในการดูแลสุขภาพของประชาชน นอกจากการให้การส่งเสริมป้องกันโรค การรักษาโรคแล้ว การฟื้นฟูสมรถภาพก็มีความสำคัญสำหรับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  โดยเฉพาอย่างยิ่งผู้ที่มีสายตาเลือนรางจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ ทั้งในด้านการใช้เครื่องมือ visual aid การดูแลและแนะนำสำหรับการปรับตัว รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด แพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อสามารถช่วยฟื้นฟูสมรถภาพของผู้ป่วยได้ในอนาคต                             

เนื้อหาโดยสังเขป :  

-         ปัญหาและต้นเหตุของภาวะสายตาเลือนรางที่พบบ่อย รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูสมรถภาพของผู้ป่วย

-         เครื่องมือ visual aid ชนิดต่างๆ ข้อบ่งชี้ และวิธีการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด

-         วิธีการจัดตั้งคลินิกสายตาเลือนราง  รวมทั้งกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้มีสายตาเลือนราง                         

 

12.หัวข้อ : Ocular trauma : anterior segment trauma           

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พฤหัสบดี  22  มิถุนายน  254929  มิถุนายน  2549                                 

ผู้สอน : อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

หลักการและเหตุผล : ปัญหาอุบัติเหตุทางตา เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญยิ่ง เพราะการให้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันเวลา จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสูญเสียน้อยที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไปตลอดชีวิต แพทย์ประจำบ้านจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะอุบัติเหตุทางตาแต่ละชนิด และแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ชนิดของอุบัติเหตุทางตาส่วนหน้าที่พบบ่อย  กลไกการเกิดความเสียหายต่อตา  อาการแสดงและวิธีการตรวจ

-         การให้การดูแลเบื้องต้น และระยะเวลาที่ต้องให้การรักษาอย่างทันท่วงที

-         แนวทางการให้การรักษาแต่ละภาวะที่เหมาะสม  ข้อควรระวังและป้องกันความเสียหายต่อดวงตา

 

13.หัวข้อ : Ocular trauma : posterior segment trauma         

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  26  มิถุนายน  2549                                                                         

ผู้สอน : อ.นพ.ณัฐพล  วงษ์คำช้าง

หลักการและเหตุผล : ปัญหาอุบัติเหตุทางตา เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญยิ่ง เพราะการให้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมและทันเวลา จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสูญเสียน้อยที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไปตลอดชีวิต แพทย์ประจำบ้านจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะอุบัติเหตุทางตาแต่ละชนิด และแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

-         ชนิดของอุบัติเหตุทางตาส่วนหลังที่พบบ่อย  กลไกการเกิดความเสียหายต่อตา  อาการแสดงและวิธีการตรวจ

-         การให้การดูแลเบื้องต้น และระยะเวลาที่ต้องให้การรักษาอย่างทันท่วงที

-         แนวทางการให้การรักษาแต่ละภาวะที่เหมาะสม  ข้อควรระวังและป้องกันความเสียหายต่อดวงตา

 

14.หัวข้อ : Glaucoma : terminology, anatomy, aqueous humor dynamic, testing        

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : อังคาร 27  มิถุนายน  2549

ผู้สอน : อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินเป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 3 เป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุตาบอดที่สามารถป้องกันได้ (preventable blindness) แม้ว่าโรคต้อหินจะมีหลายชนิด และเกิดจากสาเหตุของโรคต่างๆได้มากมาย แต่การเข้าใจถึงภาวการณ์เกิดของโรคอย่างถูกต้อง จะช่วยให้แพทย์ประจำบ้านสามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคต้อหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         คำศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคต้อหิน

-         กายวิภาค และสรีระวิทยาของตาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต้อหิน 

-         หลักการ และวิธีการตรวจตาที่เกี่ยวข้องกับโรคต้อหิน                                       

 

 

15.หัวข้อ : Glaucoma : POAG, CACG, NTG, OHT  Burnt out glaucoma        

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พฤหัสบดี  29  มิถุนายน  2549

ผู้สอน : อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินเป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 3 เป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุตาบอดที่สามารถป้องกันได้ (preventable blindness) โดยโรคต้อหินจะมีหลายชนิด และมีกลไกการเกิดโรคที่แตกต่างกัน แพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจโรคต้อหินแต่ละชนิด เพื่อใช้เป็นพื้นฐานความรู้ในการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป       

เนื้อหาโดยสังเขป :   

-         กายวิภาคของตาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดต้อหินแต่ละชนิด

-         โรคต้อหินชนิดต่างๆ  อาการ  อาการแสดง และแนวทางการวินิจฉัยโรค

-         แนวทางการรักษาโรคต้อหินด้วยวิธีต่างๆ                                                            

 

 

16.หัวข้อ : Common drugs use in Ophthalmology 

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  3  กรกฎาคม  2549                                                                         

ผู้สอน : อ.พญ.วราภรณ์  บูรณะตรีเวทย์

หลักการและเหตุผล :ยาที่มีใช้ในทางจักษุวิทยา ในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น และเป็นวิธีการรักษาโรคทางตาส่วนใหญ่  ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านควรมีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับยาทางตาแต่ละชนิด  เพื่อให้สามารถเลือกใช้ยาในการราโรคได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ                                                                                                   

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ยาทางจักษุวิทยาที่มีใช้ในปัจจุบัน แยกตามกลุ่มการออกฤทธิ์ต่างๆ

-         กลไกและวิธีการออกฤทธิ์ของยาที่ใช้บ่อยแต่ละชนิด

-         ข้อเด่น ข้อด้อย ปริมาณยา  ราคายา ข้อควรระวังในการใช้ยา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลือกยา            

 

17.หัวข้อ : Optic & Refraction : basic principle of optic & refraction     

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : อังคาร  4  กรกฎาคม  2549                                                                        

ผู้สอน : ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงษ์เทวัญ

หลักการและเหตุผล : ความรู้พื้นฐานทางด้าน Optic มีความสำคัญในการเรียนรู้และเข้าใจสำหรับจักษุแพทย์  เพื่อใช้ในการต่อยอดความรู้ในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสายตา  เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านสามารถให้การวินิจฉัย เลือกการรักษา และให้คำแนะนำผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง                                                                                        

เนื้อหาโดยสังเขป :    

                      - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแสง เลนส์  และคุณสมบัติของแสง

                      - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจ refraction และวิธีการดูแลรักษาปัญหาสายตาผิดปกติต่างๆ

                      - Clinical application ในการนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์ใช้สำหรับจักษุแพทย์                               

 

18.หัวข้อ : Glaucoma : antiglaucoma drugs           

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : พฤหัสบดี  6  กรกฎาคม  2549                                     

ผู้สอน : อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

หลักการและเหตุผล : การดูแลรักษาโรคต้อหินในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมาก ความสำคัญของการใช้ยาเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดลดลง  ยาที่ใช้รักษาโรคต้อหินในปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพดี มีหลากหลายกลุ่ม มีข้อดี ข้อจำกัด ข้อบ่งใช้ ราคา และความเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละกลุ่มแตกต่างกัน แพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคต้อหินอย่างดี เพื่อสามารถเลือกใช้ยาให้ผู้ป่วยได้อย่างมีวิจารณญาณที่ถูกต้อง                                                         

เนื้อหาโดยสังเขป :

                      - พยาธิสรีระของการเกิดโรคต้อหินชนิดต่างๆ และความรู้พื้นฐานในแนวทางกลไกการรักษาโรคต้อหินของยาแต่ละกลุ่ม

                      - ยารักษาโรคต้อหินกลุ่มต่างๆ ข้อดี ข้อจำกัด ข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ  ราคา และความเหมาะสมสำหรับคนไข้ของยาแต่ละชนิด

                      - บริษัทที่จำหน่ายยารักษาโรคต้อหินแต่ละชนิดในประเทศไทย                              

 

19.หัวข้อ : Ethics & Laws in Ophthalmology        

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : พฤหัสบดี  13  กรกฎาคม  2549                                    

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล : จริยธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ที่ช่วยให้แพทย์เป็นมากกว่าผู้มีความรู้ในด้านการรักษาโรค  และในสภาวการณ์ปัจจุบัน แพทย์ยังมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงกฎหมายต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน  เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                                           

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

-         หลักจริยธรรมสำหรับแพทย์ รวมทั้งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม

-         กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจักษุวิทยา

-         กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพแพทย์  และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

 

20.หัวข้อ : Pediatric : normal eye development    

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ :จันทร์  17  กรกฎาคม  2549                                                                        

ผู้สอน : อ.พญ.ไอรีน  ศุภางคเสน (จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

หลักการและเหตุผล : ตาของเด็กไม่ใช่ตาของผู้ใหญ่ที่มีขนาดเล็กลง เพราะตาเด็กนอกจากขนาดที่เล็กกว่าตาผู้ใหญ่ ยังมีการพัฒนาการทั้งทางด้านกายวิภาคและการทำหน้าที่ ซึ่งแพทย์ประจำบ้านควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการปกติของตาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเข้าใจและจดจำ โรคหรือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตาได้อย่างถูกต้อง                              

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ภาวะปกติของตาเด็กความแตกต่างจากตาผู้ใหญ่

-         พัฒนาการของตาเด็กทั้งในด้านกายวิภาคและการทำงานของตา

-         ความสัมพันธ์ทางคลินิกของการพัฒนาของตาต่อการเกิดโรคตาต่างๆ               

 

 

21.หัวข้อ : Pediatric : Visual acuity (VA) testing in children

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ :อังคาร  18  กรกฎาคม  2549                                                                       

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล : ระบบการมองเห็นในเด็กแรกเกิดต่างกับในผู้ใหญ่ เพราะยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรก และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนถึงวัยเรียน (อายุ 5-6 ปี) ดังนั้นนอกจากการตรวจคัดกรองเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และรักษาโรคทางตาโดยเร็วที่สุดเพื่อผลการรักษาที่ดีแล้ว อีกหลักการและเหตุผลหนึ่งที่สำคัญของการตรวจคัดกรองสายตาในเด็ก ก็เพื่อตรวจหาภาวะผิดปกติต่างๆของตา ที่อาจเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาของระบบสายตาในเด็กทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ (lazy eye หรือ amblyopia) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้ระดับการมองเห็นเป็นปกติได้เมื่อเด็กโตเกิน 8-10 ขวบ                           

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         วิธีการตรวจ VA ชนิดต่างๆในเด็ก ตามช่วงอายุ

-         การแปลผล และสาเหตุที่พบความผิดปกติของสายตาเด็กที่พบบ่อยในแต่ละช่วงอายุ และแนวทางการรักษา 

 

 

22.หัวข้อ : Neuro-oph : visual pathway & Visual field defect

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ :จันทร์  24  กรกฎาคม  2549                                                                      

ผู้สอน : อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

หลักการและเหตุผล : ความผิดปกติของลานสายตา อาจเกิดจากโรคทางระบบประสาทจักษุวิทยาเอง หรือจากโรคของสมองโดยตรงก็ได้  โดยลักษณะเฉพาะของการเสียลานสายตาแต่ละชนิดจะสามารถบอกถึงตำแหน่งของพยาธิภาพได้ และยังอาจช่วยให้การวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุที่อาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยได้  ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านต้องมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับระบบ visual pathway เพื่อให้สามารถแปลผลการตรวจลานสายตาที่ผิดปกติ และให้การวินิจฉัยโรคได้    

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของ visual pathway และความสัมพันธ์ทางคลินิก

-         ลักษณะของลานสายตาผิดปกติที่สัมพันธ์กับตำแหน่งต่างๆของการเกิดพยาธิสภาพ

-         โรคที่เป็นสาเหตุของพยาธิสภาพในบริเวณต่างๆ และแนวทางการรักษา         

 

 

23.หัวข้อ : Uveitis : basic immunology, anterior uveitis        

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  31  กรกฎาคม  2549                                                                     

ผู้สอน : อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

หลักการและเหตุผล : ภาวะอักเสบของ เนื้อเยื่อชั้น uvea เป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลถึงการมองเห็นของผู้ป่วย  แต่โดยทั่วไปจะมีหลักการพื้นฐานของการเกิดโรคคล้ายคลึงกัน  แพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดภาวะ uveitis จึงจะสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยภาวะนี้ได้ต่อไป                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         กายวิภาคของเนื้อเยื่อ uvea ทั้งบริเวณanterior  intermediate และ posterior zone

-         ความรู้พื้นฐานทาง immunology และความสัมพันธ์ทางคลินิกเกี่ยวกับตา

-         โรค uveitis ที่พบบ่อยในบริเวณ anterior  อาการแสดง  การวินิจฉัยแยกโรค และแนวทางการรักษา                                                                                                         

 

24.หัวข้อ : Retina : Retinal detachment                

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  7  สิงหาคม  2549                                          

ผู้สอน : อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

หลักการและเหตุผล : จอประสาทตาลอก เป็นสาเหตุที่สำคัญหนึ่งของภาวะตาบอด ซึ่งสามารถให้การรักษาให้กลับมามองเห็นได้ ดังนั้นการทราบถึงอาการของโรค การวินิจฉัย และเลือกวิธีการรักษา รวมทั้งการป้งอกันที่เหมาะสม จะช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น                                                                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         กายวิภาคของจอประสาทตาที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับภาวะจอประสาทตาลอก

-         ชนิดต่างๆของจอประสาทตาลอก อาการ การวินิจฉัย

-         แนวทางการป้องกัน และการรักษาจอประสาทตาลอกชนิดต่างๆ                      

 

 

25.หัวข้อ : Strabismus : assessment of eye movement, testing       

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พุธ  16  สิงหาคม  2549                                                                             

ผู้สอน : อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

หลักการและเหตุผล : ภาวะตาเข เป็นความผิดปกติทางตาที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งการให้การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านสามารถนำไปใช้ในการคิด วิเคราะห์ในการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม                                                                                       

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         สรีระวิทยาของการกลอกตา ความสัมพันธ์ของการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลอกตา

-         ภาวะตาเขชนิดต่างๆ อาการแสดง การตรวจต่างๆที่ควรทราบ

-         แนวทาง และระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้การรักษาทั้งไม่ผ่าตัด และการผ่าตัด                        

 

 

26.หัวข้อ : Cornea : allergic conjunctivitis            

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  21  สิงหาคม  2549                                        

ผู้สอน : อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าโรคภูมิแพ้ขึ้นตามักไม่ทำอันตรายร้ายแรงต่อตา แต่ก่อให้เกิดความรำคาญและรบกวนต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย  ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่มซึ่งมีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกัน                                                                                       

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กลไกการเกิดภาวะภูมิแพ้ขึ้นตา และชนิดต่างๆของภูมิแพ้ขึ้นตา

-         อาการ  อาการแสดง  และการวินิจฉัยโรค

-         แนวทางการรักษาทั้งด้วยการใช้ยา และการไม่ใช้ยา

-         ยาที่ใช้ในโรคภูมิแพ้ขึ้นตากลุ่มต่างๆ ข้อดี และข้อจำกัดของยาแต่ละชนิด       

 

 

27.หัวข้อ : Coding in ophthalmology (DRG & ICD 10)         

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  6  พฤศจิกายน  2549                                                        

ผู้สอน : อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

หลักการและเหตุผล : การให้รหัสโรคมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งมีผลกระทบต่อระบบค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุข ดังนั้นแพทย์ประจำบ้าน และจักษุแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการให้รหัสโรคทางตา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีไปใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพ                                                        

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ประวัติ ความเป็นมา และประโยชน์ของการให้รหัสโรค

-         แนวทางการลงรหัสโรคที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

-         วิธีการตรวจสอบ ประเมินผลการให้รหัสโรคที่ถูกต้อง                                       

 

 

28.หัวข้อ : Basic Ophthalmic Laser and Ultrasound (A scan, B scan)      

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  4  กันยายน  2549                                          

ผู้สอน : อ.นพ.กิตติชัย  อัครพิพัฒน์กุล

หลักการและเหตุผล : อัลตร้าซาวน์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจต่าง ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพยาธิสภาพภายในลูกตาได้โดยตรง  โดยมีลักษณะเฉพาะของโรคตาแต่ละโรค  และจำเป็นต้องใช้ ความรู้พื้นฐาน  และทักษะในการตรวจและแปลผลอัลตร้าซาวน์

             เลเซอร์ เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสูงในทางจักษุวิทยา ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ laser เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับ clinical application ต่อไป                        

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         หลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องอัลตร้าซาวน์ และเครื่อง laser photocoagulation

-         ประโยชน์และข้อบ่งชี้ทางคลินิก

-         แนวทางการวินิจฉัยโรคที่สำคัญและควรทราบ  ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อัลตร้าซาวน์ทางตา  และการรักษาโรคตาด้วยเลเซอร์                                                                                                                                   

 

 

29.หัวข้อ : Neuro-oph : Anterior Ischemic Optic Neuropathy (AION)    

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  11  กันยายน  2549                                        

ผู้สอน : รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

หลักการและเหตุผล : ภาวะ AION เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยแยกโรคได้  โดยแพทย์ประจำบ้านต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค  เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป                                                                                     

เนื้อหาโดยสังเขป :   

-         กายวิภาคของเส้นประสาทตาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดโรค

-         อาการ  อาการแสดง  และการวินิจฉัยแยกโรค

-         การแบ่งชนิดของ AION แนวทางการรักษาและตรวจหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุร่วมด้วย                            

 

 

30.หัวข้อ : Power point Presentation Skill             

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  18  กันยายน  2549                                        

ผู้สอน : อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

หลักการและเหตุผล :การนำเสนอข้อมูลต่างๆในด้านวิชาการ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีในการนำเสนอที่น่าสนใจมาใช้ ทำให้การนำเสนอประสบความสำเร็จมากขึ้น ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี  Power point เป็นโปรแกรมหนึ่งใน Microsoft office ที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน ซึ่งมีเทคนิคและลูกเล่นที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้เองทั้งหมด                        

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ความรู้เบื้องต้นในการเลือกใช้โปรแกรม Power point ในการเตรียมนำเสนอข้อมูล

-         เทคนิคชั้นสูงในการปรับแต่งการนำเสนอให้น่าสนใจ

-         โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น          

 

 

31.หัวข้อ : Pediatric & Strabismus : Esotropia, Exotropia   

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พุธ  20  กันยายน  2549                                           

ผู้สอน : อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

หลักการและเหตุผล : ภาวะตาเขในแนวนอน ทั้งตาเขเข้าและตาเขออก มีความสำคัญทั้งในด้านการวินิจฉัย  การตรวจระดับความรุนแรง  แนวทางการวางแผนการให้การรักษาเป็นขั้นตอน  การเรียนรู้พื้นฐานความรู้ที่ดี จะช่วยให้แพทย์ประจำบ้านสามารถนำความรู้พื้นฐานนั้นไปใช้ในการวินิจฉัยและวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป                                         

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         พยาธิสรีระวิทยาของการเกิดภาวะตาเข

-         ตาเขชนิดต่างๆ อาการ การตรวจวินิจฉัย

-         การรักษาภาวะตาเขทั้งด้วยการผ่าตัด และไม่ต้องผ่าตัด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้                

 

 

32.หัวข้อ : Research methodology part I               

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : ศุกร์  6  ตุลาคม  2549                                             

ผู้สอน : อ.พญ.รุ่งทิพย์  สุขวรรณ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากโรงพยาบาลภูมิพล)

หลักการและเหตุผล : การวิจัย เป็นวิธีการที่สำคัญที่ทำให้ผู้เรียน หรือผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ใหม่  หรือเลือกรับข้อมูลซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบันว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และนำไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมต่อไป                                                                  

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ชนิดของการวิจัยทางด้านสาธารณสุข การเลือกใช้วิธีการวิจัยต่างๆ

-         ข้อดี และความน่าสนใจของการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร

-         กฎ กติกา มารยาทในการทำวิจัย  และการเลือกคำถามในการวิจัยที่เหมาะสม

-         การวางแผนงานวิจัยทางด้านจักษุวิทยา                                                               

 

 

33.หัวข้อ : Research methodology part II              

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : ศุกร์  13  ตุลาคม  2549                                           

ผู้สอน : อ.พญ.รุ่งทิพย์  สุขวรรณ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากโรงพยาบาลภูมิพล)

หลักการและเหตุผล : การวิจัย เป็นวิธีการที่สำคัญที่ทำให้ผู้เรียน หรือผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ใหม่  หรือเลือกรับข้อมูลซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบันว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และนำไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมต่อไป                                                                  

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ชนิดของการวิจัยทางด้านสาธารณสุข การเลือกใช้วิธีการวิจัยต่างๆ

-         ข้อดี และความน่าสนใจของการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร

-         กฎ กติกา มารยาทในการทำวิจัย  และการเลือกคำถามในการวิจัยที่เหมาะสม

-         การวางแผนงานวิจัยทางด้านจักษุวิทยา                                                               

 

 

34.หัวข้อ : Retina : retinal vascular disease ( CRVO, BRVO, CRAO, BRAO)

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  16  ตุลาคม  2549                                          

ผู้สอน : อ.นพ.ไพบูลย์  บวรวัฒนดิลก

หลักการและเหตุผล : เส้นเลือดจอประสาทตา อาจเกิดความผิดปกติได้เช่นเดียวกับเส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆของร่างกาย โดยอาจเป็นสาเหตุเฉพาะที่ตา หรือมีสาเหตุจากโรคทางร่างกาย  แต่มีความสำคัญมากเพราะอาจมีผลร้ายแรงต่อการสูญเสียสายตาได้  ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้การวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม              

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของเส้นเลือดจอประสาทตาที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดความผิดปกติ

-         อาการ อาการแสดงของภาวะผิดปกติของเส้นเลือดจอประสาทตาแต่ละชนิด

-         โรคที่อาจเป็นสาเหตุ  และแนวทางการรักษาเส้นเลือดจอประสาทตาผิดปกติแต่ละชนิด

-         ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเส้นเลือดจอประสาทตา                                       

 

 

35.หัวข้อ : Glaucoma : Visual field interpretation                 

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  30  ตุลาคม  2549                                          

ผู้สอน : อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินคือภาวะที่มีการทำลายขั้วประสาทตา ทำให้เกิดการสูญเสียของลานสายตา โดยมีความดันตาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ดังนั้นในการให้การวินิจฉัย การติดตามผลการรักษาโรคต้อหิน จำเป็นที่จักษุแพทย์จะต้องสามารถเลือกการตรวจลานสายตา และแปลผลลานสายตาได้ จึงจะสามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคต้อหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ             

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         วิธีการตรวจลานสายตานิดต่างๆ

-         หลักการเบื้องต้นของการตรวจลานสายตา

-         การแปลผลความน่าเชื่อถือของลานสายตา และความผิดปกติรูปแบบต่างๆของลานสายตาที่พบได้ในโรคต้อหิน                                                                                                                          

 

 

36.หัวข้อ : Glass & Frame                                     

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  28  สิงหาคม  2549                                        

ผู้สอน : อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

หลักการและเหตุผล : แว่นตา เป็นวิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติที่สำคัญ ปัจจุบันกรอบแว่นตาและเลนส์แว่นตามีพัฒนาการมากมาย ซึ่งกรอบและเลนส์แว่นตาแต่ละชนิดจะมีข้อดี ข้อจำกัดแตกต่างกัน                                     

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ประวัติความเป็นมาของกรอบแว่นตาและเลนส์แว่นตา

-         กรอบและเลนส์แว่นตาชนิดต่างๆที่มีใช้ในปัจจุบัน ข้อดีและข้อจำกัด

-         กรอบแว่นตาที่ใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ และแนวทางการพัฒนากรอบแว่นตาในอนาคต                                 

 

 

 

37.หัวข้อ : Cornea : corneal ulcer, technique in corneal scraping   

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  13  พฤศจิกายน  2549                                     

ผู้สอน : อ.พญ.นิภาภรณ์  มณีรัตน์

หลักการและเหตุผล : ภาวะแผลติดเชื้อที่กระจกตา เป็นปัญหาที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และมีความสำคัญต่อการมองเห็นของผู้ป่วย อีกทั้งอาจเกิดจากเชื้อที่เป็นสาเหตุได้หลายชนิด ซึ่งมีแนวทางการรักษา ความรุนแรง และพยากรณ์ของโรคที่แตกต่างกัน                        

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของกระจกตาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดแผลติดเชื้อที่กระจกตา

-         อาการและอาการแสดงของแผลกระจกตาที่เกิดจากเชื้อที่เป็นสาเหตุชนิดต่างๆ

-         วิธีการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ และการแปลผลการตรวจ

-         แนวทางการรักษาแผลติดเชื้อที่กระจกตาที่เกิดจากเชื้อชนิดต่างๆ                    

 

 

38.หัวข้อ : Orbit : orbital fracture                         

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  20  พฤศจิกายน  2549                                     

ผู้สอน : อ.นพ.กีรติ  พึ่งพาพงษ์

หลักการและเหตุผล : อุบัติเหตุต่อตาจากแรงกระแทก นอกจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกตาแล้ว อาจทำให้กระดูกเบ้าตาแตก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของการมองเห็น ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้พื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะนี้ต่อไป                                                                       

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของกระดุกเบ้าตาที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก

-         กลไกการเกิดอุบัติเหตุต่อกระดุกเบ้าตา

-         อาการ อาการแสดง การวินิจฉัยแยกโรค

-         แนวทางการรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น                                        

 

 

39.หัวข้อ : Glass manufacturing                             

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  27  พฤศจิกายน  2549                                     

ผู้สอน : Staff ทุกท่าน

หลักการและเหตุผล : แว่นตา เป็นวิธีการแก้ไขสายตาผิดปกติที่นิยมแพร่หลายที่สุด จักษุแพทย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแว่นตาและเลนส์แว่น เพื่อให้สามารถแนะนำ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาโดยสังเขป :   

                      - ดูโรงงานผลิตเลนส์แว่นตา เพื่อทราบถึงเลนส์ชนิดต่างๆ ข้อดี ข้อจำกัด และวิธีการผลิตให้ได้มาตราฐาน     

 

 

40.หัวข้อ : Neuro-oph : optic neuritis                     

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  4  ธันวาคม  2549                                          

ผู้สอน : อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

หลักการและเหตุผล : ภาวะเส้นประสาทตาอักเสบ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น โดยจักษุแพทย์อาจตรวจพบหรือไม่พบความผิดปกติที่เส้นประสาทตาก็ได้  แต่การให้การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้เร็วขึ้น และลดโอกาสการเกิดโรคทางระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องได้                                                   

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         กายวิภาคของเส้นประสาทตาที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดโรค

-         อาการ อาการแสดง และวิธีการตรวจวินิจฉัยโรค

-         โรคที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเส้นประสาทตาอักเสบ

-         แนวทางการรักษา พยากรณ์โรค และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง                               

 

 

41.หัวข้อ : Pediatric & Strabismus : Retinopathy of Prematurity (ROP)

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  11  ธันวาคม  2549

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล : โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด (ROP) มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้เด็กแรกคลอดน้ำหนักน้อยสามรารถมีชีวิตรอดได้ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้นเช่นเดียวกับความคาดหวังของพ่อแม่เด็ก ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านจำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับโรค ROP เป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ต่อทารก และป้องกันปัญหาข้อผิดพลาดซึ่งอาจก่อปัญหาต่อตัวแพทย์เองได้                                                               

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ความสำคัญ ขนาดของปัญหา  และข้อมูลในประเทศไทย

-         พยาธิสรีระวิทยา  ระยะต่างๆของการเกิดโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคและวิธีป้องกัน

-         แนวทางการรักษา รวมทั้งผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                 

 

 

42.หัวข้อ : Public Eye Health                                 

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  18  ธันวาคม  2549                                        

ผู้สอน : อ.พญ.ขวัญใจ  วงศกิตติรักษ์ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

หลักการและเหตุผล : เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของประเทศทางด้านตา และสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบต่อไปในอนาคต                     

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

                      - ข้อมูลเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขด้านจักษุวิทยาของประเทศไทย และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง

                      - กลวิธี และกลยุทธที่ใช้ในการแก้ปัญหาโรคตาของประเทศไทยที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

                      - รูปแบบ และแนวทางการแก้ปัญหาสาธารณสุขด้านจักษุวิทยาที่เหมาะสม และมีการนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมาแล้ว

 

43.หัวข้อ : Ocular Pathology                                  

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  25  ธันวาคม  2549                                        

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล : พยาธิวิทยา เป็นพื้นฐานของการเข้าใจการเกิดโรคต่างๆของมนุษย์  การเข้าใจพยาธิวิทยาที่ดี จะทำให้แพทย์ประจำบ้านสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการเข้าใจภาวะโรคทางตาต่างๆได้อย่างถ่องแท้                     

เนื้อหาโดยสังเขป :  

-         Terminology ที่ควรทราบ ความแตกต่างของภาวะปกติและผิดปกติของส่วนต่างๆของตา

-         กายวิภาคของตา และความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางคลินิก

-         โรคที่พบบ่อยและจำเป็นสำหรับการใช้พยาธิวิทยาในการช่วยการวินิจฉัย

 

44.หัวข้อ : Retina : retinoblastoma                        

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  8  มกราคม  2550                                          

ผู้สอน : อ.พญ.วิมลวรรณ  จูวัฒนสำราญ

หลักการและเหตุผล : โรคมะเร็งจอประสาทตาชนิด Retinoblastoma เป็นมะเร็งในลูกตาที่พบมากที่สุดในเด็ก  การให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ในระยะต้น นอกจากจะสามารถรักษาชีวิตเด็กได้แล้ว ยังอาจสามารถเก็บรักษาดวงตาของเด็กไว้ได้อีกด้วย                            

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         ระบาดวิทยา และธรรมชาติของโรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

-         อาการ อาการแสดง การวินิจฉัยโรคมะเร็งจอประสาทตา

-         แนวทางการรักษาโรคตามระยะต่างๆ

-         การให้คำแนะนำการพันธุกรรมสำหรับครอบครัวผู้ป่วย                                    

 

 

45.หัวข้อ : Ophthalmic Drugs and Instrument Supplier         

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  15  มกราคม  2550                                        

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล :  ปัจจุบันยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางตาในประเทศไทยมีความหลากหลาย  แพทย์ประจำบ้านควรมีความรู้เกี่ยวกับยาหรืออุปกรณ์ที่มีใช้จริงในประเทศไทย  การเลือกผลิตภัณฑ์ และการติดต่อบริษัทผู้จำหน่าย เพื่อเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบและเลือกใช้ยาหรืออุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมในแต่ละกรณี  โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านราคา                     

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

                      - ยาและอุปกรณ์ทางตาที่มีใช้ในประเทศไทย แยกตามรายบริษัทที่ผลิตหรือจัดจำหน่าย

                      - วิธีการเลือกติดต่อผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด และโครงสร้างบริหารของบริษัทที่เกี่ยวข้อง

                      - ข้อดี ข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ และบริษัทที่ผลิตหรือจำหน่าย

 

46.หัวข้อ : Glaucoma : Neovascular Glaucoma (NVG)         

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  22  มกราคม  2550                                        

ผู้สอน : อ.พญ.มัญชิมา  มะกรวัฒนะ

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินเกิดได้จากหลายสาเหตุ  โรคต้อหินชนิดที่เกิดจากเส้นเลือดงอกใหม่ (Neovascular glaucoma) เป็นโรคต้อหินที่มีความสำคัญทั้งในด้านการหาโรคที่เป็นสาเหตุของต้อหิน การวินิจฉัย และแนวทางการรักษาซึ่งแตกต่างและยากกว่าการรักษาโรคต้อหินชนิดอื่นๆ                                                                                

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคของตาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกกับการเกิดต้อหิน

-         ภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค NVG

-         อาการของโรค  แนวทางการวินิจฉัยโรคร่วม และโรค NVG

-         การรักษาโรค NVG และข้อแตกต่างจากโรคต้อหินอื่นๆ                               

 

 

47.หัวข้อ : Cornea : specular microscope              

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  29  มกราคม  2550                                        

ผู้สอน : อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

หลักการและเหตุผล : Specular microscope เป็นการตรวจ endothelial cells ของกระจกตาซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการคงสภาพความใสของตา โดยการดึงน้ำออกจากกระจกตา ดังนั้นการตรวจดูจำนวน รูปร่าง และความหนาแน่นของ endothelial cells ในกระจกตา จะมีผลสำคัญต่อการวินิจฉัยโรคกระจกตาบางชนิด และช่วยในการวางแผนป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกที่อาจมีผลต่อ endothelial cells ได้                                                                   

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         กายวิภาคของกระจกตาชั้นต่างๆ  และลักษณะรวมทั้งหน้าที่การทำงานของ endothelial cell 

-         ลักษณะปกติ และผิดปกติของ endothelial cells

-         วิธีการตรวจ endothelial cells และการแปลผล

 

 

48.หัวข้อ : Pearl & Pitfall in ECCE                       

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  5  กุมภาพันธ์  2550                                         

ผู้สอน : อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

หลักการและเหตุผล :  การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยต้อกระจกด้วยวิธี Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) เป็นการผ่าตัดที่แพทย์ประจำบ้านต้องมีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจประโยชน์ วิธีการทำผ่าตัดที่ดีที่สุดในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการฝึกทำการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด                                                      

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         การผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีต่างๆ และขั้นตอนการผ่าตัด ECCE

-         วิธีการทำและประโยชน์ของหัตถการในแต่ละขั้นตอน

-         ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอน ข้อควรระวังและวิธีการดีที่สุดในแต่ละขั้นตอน                              

 

 

49.หัวข้อ : Orbit : orbital tumor                             

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  12  กุมภาพันธ์  2550                                       

ผู้สอน : อ.นพ.กีรติ พึ่งพาพงษ์

หลักการและเหตุผล : ก้อนในโพรงเบ้าตา อาจเกิดได้จากหลายโรคตามแต่ชนิดของเนื้อเยื่อ โดยในแต่ละช่วงอายุของผู้ป่วยจะพบก้อนต่างชนิดกัน  การมีความรู้เกี่ยวกับก้อนในโพรงเบ้าตาแต่ละชนิด รวมทั้งธรรมชาติของโรค จะช่วยให้แพทย์ประจำบ้านสามารถให้การวินิจฉัยโรคก้อนในโพรงเบ้าตาได้                                                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป :  

-         กายวิภาคของโพรงเบ้าตา ที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก

-          ก้อนเนื้องอกชนิดต่างๆ ที่พบได้ในแต่ละช่วงอายุ

-         อาการ อาการแสดง และธรรมชาติของโรคก้อนแต่ละชนิด

-         แนวทางการวินิจฉัยแยกโรค และการให้การรักษา                                            

 

 

50.หัวข้อ : Neuro-oph : traumatic optic neuropathy              

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  19  กุมภาพันธ์  2550                                       

ผู้สอน : อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

หลักการและเหตุผล : ภาวะอุบัติเหตุที่ตา นอกจากจะทำอันตรายต่อดวงตาโดยตรงแล้ว ยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ทำให้สูญเสียสายตาได้  การวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างรวดเร็ว อาจช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นเช่นเดิมได้                         

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         กายวิภาคของเส้นประสาทตา และอวัยวะข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก

-         กลไกการเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตา

-         อาการ อาการแสดง และวิธีการตรวจวินิจฉัย รวมทั้งแนวทางการให้การดูแลรักษา                        

 

 

51.หัวข้อ : Wet lab : Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) 

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  26  กุมภาพันธ์  2550                                       

ผู้สอน : ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

หลักการและเหตุผล : เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีโอกาสทดลองและฝึกการทำผ่าตัด ECCE และใส่เลนส์แก้วตาเทียมในตาสัตว์ก่อนการปฏิบัติจริงในตาผู้ป่วย ให้มีความมั่นใจ และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการฝึกปฏิบัติ             

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                                                

-         ขั้นตอนต่างๆในการทำผ่าตัด ECCE และการใส่เลนส์แก้วตาเทียม

-         เทคนิคที่ดีที่สุด และข้อควรระวังภาวะแทรกซ้อนในแต่ละขั้นตอน

 

 

52.หัวข้อ : Intra-ocular Lens (IOL) : type, power calculation        

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  5  มีนาคม  2550                                            

ผู้สอน : อ.นพ.วรนาถ  ทัตติยะกุล

หลักการและเหตุผล : เลนส์แก้วตาเทียมกลายเป็นมาตรฐานในการผ่าตัดรักษาโรคต้อกระจกในปัจจุบัน ซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ โดยแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน รวมทั้งความแม่นยำในการคำนวณค่ากำลังเลนส์แก้วตาเทียมที่เหมาะสม และวิวัฒนาการใหม่ๆของเลนส์แก้วตาเทียม                                                                              

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         ประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของเลนส์แก้วตาเทียม รวมทั้งข้อดี ข้อจำกัดของการใช้เลนส์แก้วตาเทียม เทียบกับ aphakic correction วิธีอื่นๆ

-         ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียบ ข้อดี ข้อจำกัดของเลนส์แก้วตาเทียมแต่ละชนิด รวมทั้งข้อบ่งใช้

-         วิธีการคำนวณกำลังของเลนส์วิธีต่างๆ ข้อดี และข้อจำกัดในแต่ละกรณี รวมทั้งการคิดกำลังของเลนส์ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแก้ไขสายตา

-         ชนิดของเลนส์ที่มีใช้ในประเทศไทย และเลนส์แก้วตาเทียมชนิดใหม่ต่างๆ                                      

 

 

53.หัวข้อ : Pediatric & Strabismus : prescribing glasses in children        

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  12  มีนาคม  2550                                           

ผู้สอน : อ.นพ.ศักดิ์ชัย  วงศกิตติรักษ์

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันปัญหาโรคสายตาผิดปกติในเด็ก  พบได้บ่อยมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก  การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสายตา นอกจากทำให้เด็กสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะตาพิการอย่างถาวะจากโรคตาขี้เกียจอีกด้วย  นอกจากนั้นการแก้ไขสายตาผิดปกติในเด็กเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความแตกต่างจากการแก้ไขภาวะสายตาในผู้ใหญ่                                                                                        

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         กายวิภาคและแนวโน้มการเจริญเติบโตของตาเด็ก รวมทั้งความแตกต่างจากตาผู้ใหญ่

-         ปัญหาสายตาที่พบบ่อยในเด็กไทย  วิธีการแก้ปัญหาสายตาในเด็ก รวมทั้งข้อดี และข้อจำกัดของแต่ละวิธี

-         เทคนิคการวัดแว่นในเด็ก และการสั่งแว่นตาที่เหมาะสมในเด็ก                        

 

 

54.หัวข้อ : Retina : choroidal mass (MM, hemangioma, matastatic tumor)      

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  19  มีนาคม  2550                                           

ผู้สอน : อ.นพ.กิตติชัย  อัครพิพัฒน์กุล

หลักการและเหตุผล : ภาวะก้อนในเนื้อเยื่อชั้น choroid อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งการตรวจโดยการดูโดยตรงมักไม่สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรคได้  ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคแต่ละชนิด และวิธีการวินิจฉัยแยกโรคของก้อนในชั้น choroid                                                                                     

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         กายวิภาคของเนื้อเยื่อชั้น choroids

-         สาเหตุของก้อน และวิธีการวินิจฉัยแยกโรคแต่ละชนิด                                      

 

 

55.หัวข้อ : CPG guideline                                       

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  26  มีนาคม  2550                                           

ผู้สอน : รศ.นพ.โกศล  คำพิทักษ์

หลักการและเหตุผล : เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับ Clinical practice guideline โรคทางตาที่พบบ่อย 13 โรค ซึ่งราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำขึ้นในปี 2547 และนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อป้องกันปัญหาทางข้อกฎหมายในการดูแลผู้ป่วย                                                                               

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         CPG โรคตาที่พบบ่อย 13 โรคตามแนวทางของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

-         ประเด็นที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคตาแต่ละโรค ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาข้อกฎหมายกับผู้ป่วย 

 

 

56.หัวข้อ : Glaucoma : congenital glaucoma         

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  2  เมษายน  2550                                           

ผู้สอน : อ.พญ.วรัทพร  จันทร์ลลิต

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินแต่กำเนิด มีทั้งชนิดที่เกิดจากพันธุกรรมและเกิดขึ้นเอง  การให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้เร็วที่สุด อาจส่งผลต่อพยากรณ์โรคของการมองเห็นของผู้ป่วยไปตลอดชีวิต รวมทั้งการเลือกวิธีการรักษา ยาต้อหินในเด็กก็มีความแตกต่างจากโรคต้อหินในผู้ใหญ่                                                                                                  

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         อาการ อาการแสดง การวินิจฉัยภาวะต้อหินแต่กำเนิด

-         ชนิดของโรคต้อหินแต่กำเนิด และความผิดปกติของตาที่อาจทำให้เกิดโรคต้อหินแต่กำเนิด

-         แนวทางการรักษาโรคต้อหินแต่กำเนิด และพยากรณ์โรค                                  

 

 

57.หัวข้อ : Cornea : eye banking                            

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  9  เมษายน  2550                                           

ผู้สอน : อ.พญ.นิภาภรณ์  มณีรัตน์

หลักการและเหตุผล : วิธีรักษาภาวะตาบอดจากแผลเป็นที่กระจกตาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือการเปลี่ยนกระจกตา (Penetrating keratoplasty) แต่ปัญหาที่สำคัญคือ กระจกตาบริจาคมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรอรับบริจาคจากสภากาชาดไทย อาจต้องใช้เวลาในการจองตานานถุง 5 – 10 ปี ดังนั้นการจัดตั้ง eye banking จึงเป็นแนวทางในการได้ดวงตาบริจาคมาเพื่อให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น                                                                           

เนื้อหาโดยสังเขป : 

-         หลักการทั่วไป และประโยชน์ของการเปลี่ยนกระจกตา

-         แนวทางการจองตาของสภากาชาดไทย การเก็บดวงตา และแหล่งที่มาของตาบริจาคอื่นๆ

-         หลักการ  ประโยชน์  ขั้นตอนและวิธีการในการจัดตั้ง eye banking          

 

 

58.หัวข้อ : Orbit & Eyelid : blepharoplasty          

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  23  เมษายน  2550                                          

ผู้สอน : อ.พญ.วราภรณ์  บูรณตรีเวทย์

หลักการและเหตุผล : การทำผ่าตัดตกแต่งเปลือกตา (blepharoplasty) สามารถใช้ทั้งเพื่อรักษาโรคบางชนิดของเปลือกตา และเพื่อความสวยงาม ดังนั้นการเข้าใจพื้นฐานที่ดีของวิธีการผ่าตัด จะช่วยให้แพทย์ประจำบ้านสามารถนำความรู้ไปใช้ในการฝึกผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป                                                                            

เนื้อหาโดยสังเขป :  

-         กายวิภาคของเปลือกตาที่มีความสัมพันธ์ทางคลินิก

-         ข้อบ่งชี้  ประโยชน์  และการให้คำแนะนำผู้ป่วยก่อนวางแผนการรักษา

-         วิธีการทำ ข้อควรระวัง ภาวะแทรกซ้อนและขั้นตอนที่อาจมีผลต่อผลการผ่าตัด                              

 

 

59.หัวข้อ : Neuro-oph : third nerve palsy              

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : จันทร์  30  เมษายน  2550                                          

ผู้สอน : อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

หลักการและเหตุผล : โรคทางเส้นประสาทสมองที่เกี่ยวพันกับการทำงานของตา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตา ทั้งการเห็นภาพซ้อน ภาวะตาเข และมีความซับซ้อนของการให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง การเข้าใจความรู้พื้นฐานการทำงานของเส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง จะทำให้แพทย์ประจำบ้านสามารถให้การตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง                           

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         กายวิภาคของเส้นประสาทเลี่ยงกล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลอกตา

-         อาการ และอาการแสดงที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3

-         วิธีการตรวจเพื่อให้การวินิจฉัยโรค และแนวทางการดูแลรักษา

-         โรคที่เป็นสาเหตุตามช่วงอายุต่างๆ  และการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุ               

 

 

60.หัวข้อ : Pediatric & Strabismus : fourth nerve palsy       

ประเภทหัวข้อ :  Clinical science                                               

วันที่ : พุธ  9  พฤษภาคม  2550                                            

ผู้สอน : อ.พญ.โสฬส  วุฒิพันธุ์

หลักการและเหตุผล : โรคทางเส้นประสาทสมองที่เกี่ยวพันกับการทำงานของตา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตา ทั้งการเห็นภาพซ้อน ภาวะตาเข และมีความซับซ้อนของการให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง การเข้าใจความรู้พื้นฐานการทำงานของเส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง จะทำให้แพทย์ประจำบ้านสามารถให้การตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง                           

เนื้อหาโดยสังเขป :

-         กายวิภาคของเส้นประสาทเลี่ยงกล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลอกตา

-         อาการ และอาการแสดงที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 4

-         วิธีการตรวจเพื่อให้การวินิจฉัยโรค และแนวทางการดูแลรักษา

-         โรคที่เป็นสาเหตุตามช่วงอายุต่างๆ  และการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุ              

 

 

61.หัวข้อ : Contact lenses                                                        

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  14  พฤษภาคม  2550                                       

ผู้สอน : ผศ.นพ.วิชัย  ลีละวงศ์เทวัญ

หลักการและเหตุผล : เลนส์สัมผัสเป็นอีกวิธีในการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งจักษุแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ ชนิด วิธีการสั่งเลนส์สัมผัส รวมทั้งการดูแลรักษาที่เหมาะสม เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้                      

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ประโยชน์ และข้อจำกัดของเลนส์สัมผัส เทียบกับการแก้ไขสายตาผิดปกติวิธีอื่นๆ

-         เลนส์สัมผัสชนิดต่างๆ ข้อดีและข้อจำกัด

-         วิธีการสั่งเลนส์สัมผัสให้ผู้ป่วย

-         แนวทางการดูแลผู้ใส่เลนส์สัมผัส                                                                          

 

 

62.หัวข้อ : Electrophysiologic tests                        

ประเภทหัวข้อ :  Basic science                                                 

วันที่ : จันทร์  21  พฤษภาคม  2550                                       

ผู้สอน : อ.พญ.เบญจวรรณ  วุฒิวรวงศ์ (หมายเหตุ : อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี) 

หลักการและเหตุผล : การตรวจความสามารถในการมองเห็นในเด็กเล็กมักทำได้ยากเพราะเด็กไม่สามารถร่วมมือในการตรวจได้ แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องมีการประเมินประสิทธิภาพในการมองเห็นของเด็กเล็ก การตรวจทาง electrophysiology มีบทบาทและมีความสำคัญเพื่อหาสาเหตุของโรคหลายๆโรค แต่การแปลผลการตรวจจำเป็นต้องใช้ความรู้พื้นฐานจึงจะสามารถนำผลการตรวจนั้นไปใช้ในการให้การวินิจฉัยและวางแนวทางการรักษาโรคต่อไป                                                  

เนื้อหาโดยสังเขป :    

-         ประโยชน์ของการทำ electrophysiologic tests

-         หลักการเบื้องต้นของ electrophysiologic tests  แต่ละชนิด

-         การแปลผลภาวะผิดปกติที่พบบ่อยๆจาก electrophysiologic tests                               

 

 

63.หัวข้อ : Basic knowledge of ophthalmic instruments        

ประเภทหัวข้อ : Competency                                                  

วันที่ : จันทร์  28  พฤษภาคม  2550                                       

ผู้สอน : อ.พญ.ทัศนีย์  ศิริกุล

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางตามีความก้าวหน้าและใช้เทคโนโลยีสูง จักษุแพทย์นอกจากมีต้องความรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละชนิดในสภาวการณ์ต่างๆแล้ว ยังควรต้องรู้ basic principle การทำงานของเครื่องมือนั้น เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในทางคลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                 

เนื้อหาโดยสังเขป :                                                                                                 

                      - หลักการพื้นฐานของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคตา เช่น Phoroptor, Auto refracto – keratometer, Manual keratometer, Ocular ultrasound, Pachymeter, Endothelial cell count รวมทั้งวิธีการใช้ และการแปลผล         

                      - หลักการพื้นฐานของเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาโรคตา เช่น Laser photocoagulation, Yag laser, Excimer laser รวมทั้งข้อบ่งชี้  วิธีการใช้ และข้อดี ข้อจำกัดของเครื่องมือแต่ละชนิด